วิทยาลัยการอาชีพสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 31150

"ความรู้ดี ฝีมือเด่น เน้นคุณธรรม ก้าวล้ำเทคโนโลยี"

free hit counters 

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนออนไลน์ 

2.หน้าที่และหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วง

         อุปกรณ์ต่อพ่วง  คือ  อุปกรณ์ที่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล

กลางและประกอบเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์  เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. แผงแป้นอักขระ  (Keyboard)  เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงใน

เครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะป็นแป้นตัวอักษรเหมือนแป้นเครื่องพิมพ์ดีด 

เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลเข้าพื้นฐานที่ต้องใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง 

คีย์บอร์ดจะมีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก  เพื่อความสะดวกในการป้อนข้อมูลท

ี่เป็นตัวเลขและสะดวก  การวางตำแหน่งแป้นอักษรจะเป็นไปตามมาตรฐาน

ของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีดที่มีการใช้แป้นยกแคร่  (Shift

เพื่อใช้พิมพ์ตัวอักษรบน  ตัวพิมพ์ใหญ่  และตัวพิมพ์เล็ก  ระบบรหัสตัวอักษรที่ใช้

ในทางคอมพิวเตอร์จะเป็นรหัส  7  หรือ  8  บิต  เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ 

เครื่องจะส่งรหัส  7  หรือ  8  บิตเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ 

ภายในแป้นพิมพ์จะมีแผงวงจรหลักที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวน

มากมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ  ที่ถูกฉาบด้วยหมึกที่เป็นตัวนำไฟฟ้า 

เมื่อแป้นพิมพ์ถูกกดจนติดกับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในตัววงจร 

ข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าจากแป้นที่ถูกกดแต่ละแป้นจะถูกเปรียบเทียบรหัส  (Scan  Code

กับรหัสมาตรฐานของแต่ละแป้นที่กดเพื่อปลี่ยนให้เป็นตัวอักษร  ตัวเลข 

หรือสัญลักษณ์ไปปรากฏที่จอคอมพิวเตอร์

ระบบรหัสที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์  คือ  รหัส  ASCII 

(American  Standard  Conde  for  Information  Interchange

เป็นรหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ 

เป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วย  อักษรละติน  เลขอารบิก  เครื่องหมายวรรคตอน 

และสัญลักษณ์ต่างๆโดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว  เช่น  รหัส  65  (เลขฐานสิบ) 

ใช้แทนอักษรเอ  (A)  พิมพ์ใหญ่  เป็นต้น

คีย์บอร์ด  มี  5  แบบ  คือ

    ·   Desktop  Keyboard  มี  101  แป้น

Desktop  Keyboard  with  Hot  Keys  คือ  คีย์บอร์ดที่มีจำนวนแป้นมากกว่า  101 

แป้นขึ้นไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน  ซึ่งจะมีปุ่มพิเศษสำหรับระบบปฏิบัติการ  Windows

Wireless  Keyboard  คือ  คีย์บอร์ดไร้สายไม่ต้องต่อสายเข้ากับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ 

แต่จะมีอุปกรณ์รับสัญญรจากคีย์บอร์ด  การทำงานจะใช้ความถี่วิทยุในการสื่อสาร 

ซึ่งความถี่ที่ใช้จะอยู่ที่  27  MHZ  (Megahertz)  อุปกรณ์ชนิดนี้มักจะมาคู่กับอุปกรณ์เม้าส์

MHZ  (Megahertz)  เป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าชนิดกระแสไฟสลับ 

(AC : Alternating  Current  Bectricity)

Security  Keyboard  คือ  คีย์บอร์ดที่มีช่องเสียบ  Smart  Card  

เพื่อป้องกันการใช้งานจากผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของคีย์บอร์ด  คีย์บอร์ดชนิดนี้เหมาะสมกับการ

ใช้งานที่ต้องการความปลอดภัยสูงหรือใช้ควบคุมเครื่อง  Server  ที่ยอมให้เฉพาะ

  Admin  ที่ทำหน้าที่เป็นผู้  Update ข้อมูล

การเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถ

ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่  สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้ว  ไม่ว่าจะเป็นโน็ตบุ๊ค 

แล็ปท็อป  ขนาดแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดเป็นมาตรฐาน 

เพราะผู้ผลิตมีความต้องการให้เครื่องมีขนาดเล็กลง  โดยลดจำนวนแป้นแล้วใช้แป้นหลาย

แป้นพร้อมกันแทนการทำงานในแป้นเดียว

    แผงแป้นอักขระ  แบ่งออกเป็น  4  ส่วน

    1.       Typing  Keys  คือ  กลุ่มแป้นอักขระการวางแป้นอักขระจะเหมือนกับการวางแป้นอักขระบนเครื่องพิมพ์ดีด

2.   Numeric  Keypad  คือ  กลุ่มแป้นตัวเลขและเครื่องหมายที่ใช้ในการคำนวณ

3.       Function  Keys  คือ  กลุ่มฟังก์ชันมี  12  แป้น  คือ  F1-F12


4.       Control  Keys  คือ  แป้นควบคุมต่างๆ  เช่น  Ctrl,  Alt  เป็นต้น

    การทำงานของแผงแป้นอักขระจะเกิดจากการเปลี่ยนกลไลการกดแป้น 

ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อส่งให้กับคอมพิวเตอร์  โดยสัญญาณดังกล่าวจะแจ้งให้คอมพิวเตอร

์ทราบว่าผู้ใช้กดแป้นอะไรซึ่งการทำงานของแผงแป้นอักขระทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วย

ไมโครโปรเซสเซอร์ ขนาดเล็กที่บรรจุในแผงแป้นอักขระ  ซึ่งสัญญาณต่างๆจะส่งผ่านสาย

สัญญาณผ่านทางขั้วต่อ  ขั้วต่อมี  4  ประเภท  คือ

            5-pin  DIN  (Deutsche  Institute  fur  Normung)  Connector  เป็นขั้วต่อที่มีขนาดใหญ่ใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ

            6-pin  IBM  PS/2  Mini-DIN  Connector  

เป็นขั้วต่อขนาดเล็กใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน

            4-pin  USB  (Universal  Serial  Bus)  Connector  เป็นขั้วต่อรุ่นใหม่

    ปุ่มต่างๆบนคีย์บอร์ดเพื่อการใช้งานในเบื้องต้น

                1.       ~  (Grave  Accent)  ใช้สลับภาษาที่พิมพ์

                2.       Enter  ใช้ในการขึ้นบรรทัดใหม่  หรือยืนยันการสั่งงาน

                3.       ESC  (Escape)  ใช้ยกเลิกหรือหยุดทำงาน

                4.       Backspace  ใช้ลบตัวอักษรที่อยู่ด้านซ้ายของ  Cursor

                5.       Delete  ใช้ลบตัวอักษรที่อยู่ด้านขวาของ  Cursor

                6.       Num  Lock  ใช้เปิดและปิดการใช้งานปุ่มตัวเลขที่อยู่ทางด้านขวาของคีย์บอร์ด


2.     เม้าส์  (Mouse)  คือ  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่ง

แต่ที่เห็นการทำงานโดยทั่วไปจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ 

บนจอภาพ  เหมาะกับการใช้งานที่ต้องเลือกหรือเลื่อนวัตถุต่างๆ  บนจอคอมพิวเตอร์

การทำงานของเม้าส์  มี  3  ประเภท  คือ

     1.   เม้าส์ทางกล  (Mechanical  Mouse)  อาศัยลูกบอลยางที่กลิ้งไปมาได้ 

เมื่อเคลื่อนย้ายเม้าส์  ลูกบอลจะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้ง  แกนของลูกกลิ้งจะต่อกับจานแปลรหัส 

บนจานจะมีหน้าสัมผัสเป็นจุดๆ  เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัสก

็จะสร้างสัญญาณแจ้งไปยังคอมพิวเตอร์โปรแกรมควบคุมเม้าส์จะทำหน้า

ที่แปลคำสั่งเพื่อเคลื่อนย้าย  Cursor  บนจอภาพต่อไป

2.     เม้าส์ใช้แสง  (Optical  Mouse)  การทำงานคล้ายกับ  Mechanical  

ต่างกันที่ตัวรับการเคลื่อนที่ของจาน  Encoder  จะมี  LED  

อยู่อีกด้านหนึ่งของจานไว้กำหนดแสงและอีกด้านหนึ่งจะมีทรานซิสเตอร์ไวแสง 

(OPTP-Transistor)  ไว้ตรวจจับแสงแทนการใช้การสัมผัส

3.     เม้าส์ไร้สาย  (Wireless  Mouse)  คือ  เม้าส์ที่มีการทำงานเหมือนเม้าส์ทั่วๆไป 

แต่จะไม่มีสายต่อออกมาจากตัวเม้าส์  เม้าส์ชนิดนี้จะมีตัวรับและตัวส่งสัญญาณ 

ตัวรับสัญญาณอาจเป็นหัวต่อแบบ  PS/2  หรือแบบ  USB  ที่เรียกว่า  Thumb  USB  Receiver 

 ซึ่งใช้ค่าความถี่วิทยุอยู่ที่ 27  MHz  และปัจจุบันใช้แบบ  Nano  Receiver  

ซึ่งใช้ความถี่วิทยุที่  2.4  GHz

        MHz  (Megaheriz)  คือ  หน่วยวัดกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ 

(AC : Alternating  Current

หรือ  ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (EM=  1,000,000  hertz  (1  ล้านเฮิรตซ์) 

หน่วยนี้ใช้ในการแสดงความเร็ว  นาฬิกา  ไมโครโปรเซสเซอร์ 

และพบในการวัดสัญาณ  Bandwidth 

สำหรับข้อมูลดิจิตอล  ความเร็วสูง  สัญญาณวิดีโอ  อนาล็อก 

และสัญญาณการกระจายสเปกตรัม

        GHz  (Gighertz)  คือ  หน่วยวัดกระแสไฟฟ้าสลับ  (AC : Alternating  Current

หรือความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (EM)  =  พันล้านเฮิรตซ์  (1,000,000,000Hz)  Gigahertz  

ได้รับการใช้เป็นตัวชี้ความถี่ของ  Ultra-High-Frequency  (UHF

และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ

  (Microwave)  รวมถึงคอมพิวเตอร์บางเรื่องที่ใช้แสดงความเร็วของนาฬิกาของ

ไมโครโปรเซสเซอร์บนเม้าส์จะมีปุ่ม  2-3  

ปุ่มขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิตว่าต้องการจะผลิตเม้าส์เพื่อรองรับโปรแกรมอะไรบ้าง 

บางโปรแกรมอาจต้องใช้ปุ่มกลางเพื่อการใช้งาน  แต่การใช้งานโดยทั่วๆไปนิยม

ใช้ส่วนนิ้วกลางวางไว้ที่ปุ่มขวาของเม้าส์  อุ้งมือใช้สำหรับเคลื่อนเม้าส์ไปมาได้สะดวก 

เมื่อเลื่อนเม้าส์  

จะพบตัวชี้เม้าส์เลื่อนไปมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์


    การใช้เม้าส์

1.       คลิก  (Click)  คือ  การกดปุ่มซ้ายของเม้าส์  1  ครั้ง  เพื่อใช้เลือกรายการหรือคำสั่งต่างๆ

2.       ดับเบิ้ลคลิก  (Double  Click)  คือ  การกดปุ่มซ้ายของเม้าส์  2  ครั้งติดๆ 

กันเพื่อเปิดไอคอนหรือชอร์ตคัตของโปรแกรมขึ้นมาทำงาน

3.       แดรกเม้าส์  (Drag  Mouse)  คือ  การกดปุ่มซ้ายของเม้าส์ค้างไว้ 

แล้วลากไปให้คลุมข้อความที่ต้องการ

4.       กดปุ่มขวาของเม้าส์  (Right  Chick)  คือ  การเข้าสู่เมนูหลัก

5.       ทริเปิลคลิก  (Triple-click)  คือ  การคลิกปุ่มซ้ายของเม้าส์  3  ครั้ง

ติดต่อกันอย่างรวดเร็วใช้มากที่สุดใน  Microsoft  Word  และใน  Web  Browsers  

เพื่อเลือกข้อความทั้งย่อหน้า

หลักการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

1.       เครื่องอ่านจะฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ดหรือแหล่งกำเนิดแสง  (Light  Source

ภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ดและกวาดแสงอ่านผ่านแท่งบาร์โค้ด

2.       รีบแสงที่สะท้อนกลับมาที่ตัวบาร์โค้ดฉายการอ่านบาร์โค้ดจะใช้หลักการสะท้อนแสงกลับ

มาที่ตัวรับแสง

3.       เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ด

จะมีอุปกรณ์เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า

4.       เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานได้ 

สัญญาณไฟฟ้าจะไปเปรียบเทียบกับตารางบาร์โค้ดที่ตัวถอดรหัส  (Decoder

และเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้


2.11  สแกนเนอร์  (Scanner)  คือ  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนภาพต้นฉบับ 

(ภาพถ่าย  ตัวอักษรบนหน้ากระดาษ  ภาพวาด)  ให้เป็นข้อมูล 

เพื่อให้คอมพิวเตอร์นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เพื่อการแสดงผลที่จอคอมพิวเตอร์

รวมทั้งแก้ไข ตกแต่ง  เพิ่มเติม  และจัดเก็บได้


หลักการทำงานของสแกนเนอร์

เครื่องอ่านภาพจะทำการอ่านภาพโดยอาศัยการสะท้อน 

หรือการส่องผ่านของแสงกับภาพต้นฉบับที่ทึบแสง  หรือโปร่งแสงให้ตกมากระทบกับแถบของอุปกรณ์ไวแสง 

(Photosensitive)  มีชื่อในทางเทคนิคว่า  Charge-Couple  Device  (CCD)  ตัว  CCD  

จะรับแสงลงไปเก็บไว้ในเส้นเล็กของเซลล์  และจะแปลงคลื่นแสงของแต่ละเซลล์เล็กๆ 

ให้กลายเป็นคลื่นความต่างศักย์  ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามอัตราส่วนของระดับ

ความเข้มของแสงแต่ละจุดตัวแปลสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลจะแปลงคลื่น

ความต่างศักย์ให้เป็นข้อมูลและอยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ในเวลาเดียวกันโปรแกรม

ในการอ่านที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องอ่านภาพให้รับข้อมูลเข้าและจัดรูปแบบ

เป็นแฟ้มข้อมูลของภาพ  ในระบบคอมพิวเตอร์ต่อไป

ภาพในคอมพิวเตอร์จะอยู่ในรูปแบบดิจิตอลคอมพิวเตอร์จะแทนส่วนเล็กๆ 

ของภาพที่เรียกว่า  “พิกเซล  (Pixels)”  ขนาดของไฟล์ภาพ  ประกอบด้วย  จำนวนพิกเซล 

คอมพิวเตอร์จะบันทึกค่าความเข้มและค่าสีของพิกเซลแต่เซลล์ด้วยจำนวน  1  บิต  หรือหลายๆ 

บิต  จำนวนของพิกเซลจะบอกถึงความละเอียดของภาพ

บิต  (Bit : Binary  Digit)  คือ  ลำดับชั้นของข้อมูลที่เล็กที่สุด 

ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์จะต้องแปลงให้อยู่ในรูปแบบของเลขฐานสอง 

คอมพิวเตอร์ถึงจะเข้าใจและทำงานตามที่ต้องการได้  เลขฐานสองถูกนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ 

เพราะเลขฐานสอง  ประกอบด้วย  0  กับ  1  ซึ่งสามารถแทนสถานการณ์  2  อย่าง 

คือ  เปิดและปิด  หรือจริงกับเท็จ  (ไม่จริง)  สามารถนำไปใช้กับระดับแรงดันไฟฟ้า

ในวงจรของเครื่องมือที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้พอดีรูปแบบการเก็บข้อมูลมีหลายระบบ 

เช่น  1  บิต  8  บิต  และ  24  บิต  ถ้าเป็นข้อมูลชนิด  1  บิต  จะใช้เก็บข้อมูลต่อพิกเซล 

2  สถานะ  คือ  0  และ  1  จะแสดงได้เฉพาะสีขาว-ดำ  ถ้า  8  บิต 

จะใช้ความแตกต่างของสีถึง  256  ระดับ  (2*2*2*2*2*2*2*2)  การรวมแม่สีใช้เทคนิค

ที่เรียกว่า  Dithering  ซึ่งจะแสดงสีที่มองเห็นได้ไม่เหมือนจริง  สำหรับ  24  บิต 

จะให้ภาพที่มีสีที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่เรียกว่า  Photo-Realistic  

โดยจะแบ่ง  24  บิต  เป็น  3  ส่วน  คือ  แดง  เขียว  น้ำเงิน  ส่วนละ  8  บิต 

เมื่อรวมทั้ง  3  ส่วน  เข้าด้วยกันแล้วจะแสดงสีได้ถึง  16.7  ล้านสี

 2.12  กล้องดิจิตอล  (Digotal  Camera)  คือ  กล้องถ่ายรูปที่ไม่ต้องใช้ฟิล์ม 

ภาพที่ถ่ายจากกล้องดิจิตอลจะถูกบันทึกแบบดิจิตอลโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในกล้อง 

โดยอยู่ในรูปแบบของไฟล์ภาพที่สามารถส่งเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ออกมาเป็นภาพ 

กล้องดิจิตอลแบ่งตามการใช้งานของ  CCD  (Charge  Coupled  Device

และลักษณะการใช้เลนส์ได้  3  ประเภท  ได้แก่

1.  กล้องคอมแพค  (Compact  Camera)  เป็นกล้องที่ใช้  CCD  

ตลอกเวลาเพื่อส่งภาพไปที่จอ  LCD  (Liquid  Crystal  Display)  มี CCD 

ทำให้เกิดความร้อนใน  CCD  น้อยที่สุด  เมื่อต้องการบันทึกภาพก็คัดลอกข้อมูลบน  CCD  

ในวินาทีที่ต้องการ  แล้วนำไปประมวลผลต่อ  มีเลนส์ที่ติดตั้งคู่กับ  CCD  ตลอดเวลาไม่สามารถถอดออกได้ 

ในการใช้งานปกติภาพที่เห็นในช่องมองภาพเป็นคนละภาพ  (ใกล้เคียง)  กับภาพที่ต้องการถ่าย 

สามารถปรับรูรับแสงและความเร็วของชัตเตอร์ได้น้อย  ตัวกล้องมีขนาดเล็ก 

การทำงานเพื่อบันทึกภาพของกล้องดิจิตอลคอมแพคก็ใช้หลักการเดียวกับกล้อง  DSLR  

เพียงแต่กล้องดิจิตอลคอมแพคจะไม่มีกระจกสะท้อนภาพ  ไม่มีม่านชัตเตอร์  และไม่มี  

Pentaprism  จะถ่ายรูปออกมาได้เมื่อแสงลอดผ่านเลนส์เข้ามาตกกระทบบนเซลเซอร์รับภาพ 

นั่นก็คือ  เซนเซอร์จะได้รับแสงตลอดเวลาที่เปิดกล้องข้อดีก็คือ  สามารถนำมาทำเป็นระบบ  

Live  View  อย่างที่ใช้กันอยู่ได้

CCD  ย่อมาจาก  Charge  Coupled  Device  เป็น  Sensor  ที่ทำงานโดยส่วนที่เป็น  

Sensor  แต่ละพิกเซลจะทำหน้าที่รับแสงและเปลี่ยนค่าแสงเป็นสัญญาณอนาล็อกส่งเข้าสู่วงจร

เปลี่ยนค่าอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอลอีกครั้ง  ซึ่งการรับแสงเป็นไปได้อย่างเต็มที่ 

ไม่ต้องเสียพื้นที่ในการแปลงสัญญาณอย่าง  CMOS  ซึ่งตัวแปลงสัญญาณก็อยู่แยกกันทำให้

้เกิดสัญญาณรบกวนน้อยกว่า  แต่ก็มีข้อเสียในด้านความร้อนและเปลืองพลังงาน

CMOS  ย่อมาจาก  Complementary  Metal  Oxide  Semiconductor  เป็น  Sensor  

ที่มีลักษณะการทำงานโดยแตะละพิกเซล  จะมีวงจรย่อยๆเปลี่ยนค่าแสงที่เข้ามาเป็นสัญญาณดิจิตอล

ทันทีไม่ต้องส่งออกไปแปลงเหมือน  CCD


2.  กล้องคอมแพคระดับสูง  (Prosumer)  (DSLR-Like)  พัฒนาขึ้นมาจากคอมแพค

ให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น  CCD  ใหญ่ขึ้นเมื่อ CCD  ใหญ่ขึ้นเลนส์ก็ต้องใหญ่ขึ้น 

ทำให้สามารถเก็บแสงได้มากขึ้นสีสันและมิติภาพจึงมีมากกว่าคอมแพค  แต่การเก็บภาพยังใช้หลักการของคอมแพค

  คือ  CCD  รับภาพตลอดเวลาส่งให้ช่องมองภาพกและจอ  LCD  การที่  CCD  ต้องรับภาพตลอดเวลา 

กลายเป็นข้อจำกัดของกล้องชนิดนี้ทำให้ไม่สามารถขยายขนาด  CCD  

ให้ใหญ่ทัดเทียมกับ  DSLR  ได้  เลนส์ที่ติดตั้งก็จะติดตั้งมากับตัวกล้อง 

ภาพที่เห็นในช่องมองภาพเป็นภาพเดียวกับภพที่ต้องการถ่ายสามารถปรับรูรับ

แสงและความเร็วชัตเตอร์ได้แต่อยู่ในวงแคบ


3.  กล้อง  Digital  Single  Lens   Reflex  ZDSLR)  (SLR : Single  Lens  Reflex

หมายถึง  ใช้การสะท้อนของเลนส์ชุดเดียวทั้งแสงที่จะตกลงใน  CCD  และแสงที่เข้าสู่ตาในช่องมองภาพ 

ส่วนใหญ่ภาพที่เกิดในช่องมองภาพจะเกิดจากแสงจริงสะท้อนผ่านชิ้นเลนส์เข้าสู่ตา

ไม่ได้เกิดจากการรับภาพของ  CCD  จึงไม่สามารถมองภาพผ่านทาง  LCD  ได้มีเลนส์ขนาดใหญ่ 

เพราะมีขนาด  CCD  ที่ใหญ่  CCD  รับแสงเฉพาะตอนที่ม่านชัตเตอร์ปิดให้แสงผ่านเท่านั้น 

สามารถถอดเลนส์เปลี่ยนได้  เพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ  มีทั้งเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสที่ตายตัว 

หรือเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้  แต่มีกล้อง  DSLR  บางชนิดที่สามารถมองภาพจาก  LCD ได้ 

โดยแยก  CCD  ออกเป็น  2  ชุด  ชุดแรกสำหรับประมวลผลภาพออกทาง  LCD  

ชุดที่สองไว้บันทึกภาพ  กล้องประเภทนี้มีตัวกล้องที่ใหญ่กลไลการทำงานของกล้องประเภท

นี้ถือว่าเป็นพื้นฐานไปสู่การทำงานของกล้องอื่นๆด้วย  กล้อง  

DSLR  (Digital  Single  Lens  Reflect)


    การโอนภาพจากกล้องดิจิตอลมาไว้ในคอมพิวเตอร์

            การโอนย้ายภาพจากกล้องดิจิตอลไปไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อจะ

ได้มีพื้นที่ในการถ่ายภาพต่างๆไป

            การโอนภาพ  มี  2  วิธี  คือ

1.   เชื่อมต่อกล้องด้วยสาย  USB  เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์  เมื่อซื้อกล้องดิจิตอล 

ผู้ขายจะให้สาย  USB  มา  1  เส้น  ผู้ใช้สามารถเสียบสายข้างหนึ่งเข้ากับตัวกล้อง 

และเสียบสายอีกข้างหนึ่งเข้ากับพอร์ต  USB  ของคอมพิวเตอร์ได้ทันทีหลังการเชื่อมต่อ   

ผู้ใช้จะมองเห็นไดร์ฟเพิ่มขึ้นมาอีกไดร์ฟหนึ่งของคอมพิวเตอร์



2.  เชื่อมต่อด้วยการ์ดหน่วยความจำ  (Card  Reader)  หรือ 

คอมพิวเตอร์โดยตรง  คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆมักจะมีช่องเสียบการ์ดหน่วยความจำมาให้แล้ว 

และเช่นเดียวกับการใช้งานผ่านสาย  USB  ผู้ใช้เลือกรูปภาพและสั่งทำสำเนามาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์


2.13  ไมโครโฟน  (Microphone)  คือ  อุปกรณ์ที่เปลี่ยนสี่ยงเป็นสัญญาณไฟฟ้า 

ไมโครโฟนที่ดีจะต้องเปลี่ยนพลังเสียงได้ดีตลอดอย่านความถี่เสียง  ซึ่งมีความจำกัดมาก 

จึงมีเทคโนโลยีที่หลากหลายเกิดขึ้นเพื่อให้ได้สัญญาณเสียงที่ดีเหมือนต้นกำเนิดของเสียง


หลักการทำงานของไมโครโฟน  เมื่อมีเสียงมากระทบที่แผ่นไดอะเฟรมบางๆ 

จะเกิดการสั่นสะเทือนขึ้น  ผลจากการสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อยจะทำให้ขดลวดเขย่า 

เกิดการเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็ก  ทำให้ขดลวดเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นตามผลการสั่นของไดอะเฟรม 

แต่สัญญาณที่ได้จากไมโครโฟนที่เรียกว่า  พรีไมโครโฟน  (Pre  Microphone)

  เท่านั้นไมโครโฟนชนิดนี้มี  Impedance  600  โอห์ม  มีความไวในทิศทางด้านหน้า

และในรัศมีสั้นๆ

  ประมาณ  4  เซนติเมตร  จนบางครั้งเรียกว่า  “ไมร้อง”  เหมาะสำหรับการขับร้อง

2.14  หูฟัง  (Headphone)  คือ  อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลข้อมูลในรูปแบบของเสียง 

โดยมีหน้าที่คล้ายกับลำโพง  ประกอบด้วย  หูฟัง  จะได้ยินเสียงเมื่อนำหูฟังไปแนบกับหู


2.15  ลำโพง  (Loudspeaker)  คือ  อุปกรณ์ไฟฟ้าเชิงกลอย่างหนึ่งทำหน้าที่แปลง

สัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียประเภทของลำโพง                                    

1.ทวิตเตอร์  คือ  ลำโพงที่มีขนาดเล็กสุดของตู้ลำโพง  ออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่สูง

2.มิดเรนจ์  คือ  ลำโพงขนาดกลางของตู้ลำโพง  ออกแบบมาเพื่อให้เสียงในช่วงความถี่

เป็นกลางๆ คือ  ไม่สูงและไม่ต่ำจนเกินไป

3.วูฟเฟอร์  คือลำโพงทีทมีขนาดใหญ่สุดของตู้ลำโพง ออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่ต่ำ

4. ซับวูฟเฟอร์  คือลำโพงที่ทำหน้าที่ขับความถี่เสี่ยงต่ำสุด  มักมีตู้แยกต่างหาก 

และใช้วงจรขยายสัญญาณในตัว

2.16  อุปกรณ์สำรองไฟ  (UPS : Uninterruptible  Power  Supply)  

คือ  อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งสามารถทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้า

ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่อง 

แม้กระทั่งในเวลาที่ไฟดับหรือเกิดปัญหาทางไฟฟ้า 

โดยสามารถรับพลังงานไฟฟ้าได้ทุกสภาพ 

แล้วจ่ายพลังงานไฟฟ้าออกมาเป็นปกติ  อุปกรณ์สำรองไฟฟ้า 

มีส่วนประกอบที่สำคัญ  ดังนี้

·                   เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า  (Inverter)  ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้าตรง 

(DC : Direct  Current)  จากเครื่องแปลงกระแสไฟสลับ

  (AC : Alternating  Current)  เป็น  DC  หรือ  แบตเตอรี่และแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า

  AC  สำหรับใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าลุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

·                   แบตเตอรี่  (Battery)  คือ  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่

เก็บพลังงานไฟฟ้าสำรองไว้ใช้ในกรณีเกิดปัญหาทางไฟฟ้า 

โดยจ่ายกระแสไฟฟ้า  DC  ให้กับเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าใน

กรณีที่ไม่สามารถรับกระแสไฟฟ้า  AC  จากระบบจ่ายไฟได้

·                   เครื่องประจุแบตเตอรี่  (Charger)  หรือเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า 

 AC  เป็น  DC  ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้า  AC  จากระบบจ่ายไฟแปลง

เป็นกระแสไฟฟ้า  DC  จากนั้นประจุเก็บไว้ในแบตเตอรี่

·                   ระบบปรับแสงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ  ทำหน้าที่ปรับแรงดันไฟฟ้า

ให้คงที่และสม่ำเสมออยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า

ประโยชน์ของ  Uninterruptible  Power  Supply

1.                   ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้า

และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

  สาเหตุมาจากกระแสไฟฟ้าผิดปกติ  เช่น  ความบกพร่องของระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าเอง 

หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติ  ฝนตก  ฟ้าคะนอง UPS  จะทำหน้าที่ป้องกัน

2.                   เมื่อไฟฟ้าดับ  UPS  จะจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้า

และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ผู้ใช้มีเวลาสำหรับการบันทึกข้อมูล 

และไม่ทำให้ฮาร์ดดิสก์เสียหาย

3.                   ปรับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า

และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้า  เช่น  ไฟตก 

ไฟกระชาก  ไฟดับ  และไฟเกิน  เป็นต้น

4.                   ป้องกันสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าที่สามารถสร้างความเสียหาย

ต่อข้อมูลและอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

2.17  เว็บแคม  (Web  Cam)  หรือ  เว็บแคมเมรา  (Web  Camera) 

คือ  กล้องถ่ายรูปวิดีโอที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ 

บางท่านเรียก  Web  Cam  ว่า  Video  Camera  ปกติ  คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ๆ 

จะติดตั้งกล้องมาพร้อมกับเครื่อง

การใช้งานเว็บแคม  คือ  การ  Chat  ทาง  MSN  (Microsoft  Network), 

Skype  เพื่อให้มองเห็นหน้าผู้ร่วมสนทนา  ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับการประยุกต์ใช้งาน

อื่นก็สามารถทำได้  เช่น  ใช้เป็นกล้องถ่ายรูปหรือใช้ทำเป็นกล้องโทรทัศน์วงจรปิด 

(CCTV : Closed-Circuit  Television)


2.18  หน่วยแสดงผล  (Dutput  Unit)  แบ่งออกได้เป็น  2  ประเภท  คือ

1.  หน่วยแสดงผลชั่วคราว  (Soft  Copy)   

คือ  การแสดงผลให้ผู้ใช้ได้ทราบในขณะนั้นเมื่อเลิกการทำงานผลที่แสดงอยู่นั้นจะหายไป

    ประเภทของจอคอมพิวเตอร์

    ·     จอ  CRT  (Cathode  Ray  Tube)

พ.ศ.  2524  บริษัท  IBM  (International  Business  Machine) 

เป็นบริษัทที่พัฒนาการแสดงผลที่ใช้กับจอภาพสีเดียว 

เรียกว่า  จอแบบเอ็มดีเอ  (MDA : Monochrome  Display  Adapter) 

 แสดงผลได้เฉพาะตัวอักษรและตัวเลข  หากต้องการแสดงผลในโหมดกราฟิก 

ก็ต้องเลือกภาวการณ์แสดงผลอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า

  ซีจีเอ  (Color  Graphic  Adapter)  สามารถแสดงสีและกราฟิกได้ 

แต่มีความละเอียดน้อยเมื่อมีผู้ผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

ออกสู่ท้องตลาดมากมายหลายยี่ห้อที่มีระบบการทำงานแบบเดียว

กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม  ทางบริษัทจึงกำหนดมาตรฐานการแสดงผลไว้

  ในเวลาต่อมาบริษัทเฮอร์คิวลิส  ซึ่งเห็นปัญหาของระบบการแสดงผลทั้งสองนี้ 

จึงออกแบบแผงวงจรแสดงผล  เรียกกันติดปากว่า  “แผงวงจรเฮอร์คิวลิส 

(Hercules  Card)  หรือ  HGA  (Hercules  Graphic  Adapter)”  

บางครั้งเรียกว่า “ไมโนโครกราฟิกอแดปเตอร์”  การแสดงผลแบบเฮอร์คิวลิส 

เป็นที่แพร่หลายมานาน

ในเวลาต่อมาบริษัทไอบีเอ็มเล็งเห็นความต้องการงานทางด้านกราฟิก

สูงขึ้นการแสดงผลที่เป็นสีควรจะมีความละเอียดและมีจำนวนสีมากขึ้น 

จึงได้พัฒนามาตรฐานการแสดงผลบนจอภาพโดยปรับปรุงจากเดิม 

เรียกว่า  EGA  (Enhance  Graphic  Adapter)  การเพิ่มเติมจำนวนส

ียังไม่เพียงพอกับซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับระบบปฏิบัติการวินโดวส

  และโอเอส  (OS/2)  บริษัทไอบีเอ็มจึงพัฒนามาตรฐานการแสดงผล

ที่มีความละเอียดและเพิ่มจำนวนสีให้มากขึ้น  เรียกว่า  เอ็กซ์วีจีเอ 

(XVGA : Extra  Video  Graphic  Array)

การทำงานของจอคอมพิวเตอร์  CRT  (Cathode  Ray  Tube)

การทำงานของจอคอมพิวเตอร์เริ่มจากการกระตุ้นอุปกรณ์หลอดภาพให้ร้อน

เกิดเป็นอิเล็กตรอนชิ้น  และถูกยิงด้วยปืนอิเล็กตรอนไปยังจุดที่ต้องการแสดงผล

บนจอคอมพิวเตอร์  ที่จอคอมพิวเตอร์จะมีการเคลือบสารฟอสฟอรัสเรืองแสง

 เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้วิ่งไปชน  ก็จะทำให้เกิดแสงสว่าง  ซึ่งประกอบกันเป็นรูปภาพ 

การยิงลำแสงอิเล็กตรอน  ลำแสงจะเคลื่อนที่ไปตามแนวขวาง 

เมื่อกวาดภาพมาถึงสุดขอบด้านหนึ่ง  ปืนลำแสงก็จะหยุดยิง 

และปรับปืนอิเล็กตรอนลงมา

  1  Line  และเคลื่อนที่ไปยังขอบอีกด้านหนึ่งทำการยิงใหญ่ 

ลักษณะการยิงจะเป็นแบบฟันเลื่อย

Cathode  Ray  Tube  (CRT)  เป็นหลอดสุญญากาศพิเศษที่ภาพสามารถสร้างขึ้นได้ 

เมื่อลำแสงอิเล็กตรอนชนกับแสง  Phosphorescent จอของคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ

ส่วนใหญ่จะใช้จอ  CRT  ซึ่งหลอด  CRT  จะคล้ายกับหลอดภาพในเครื่องรับโทรทัศน์ 

หลอด  Cathode  Ray  Tube  ประกอบด้วย  อุปกรณ์พื้นฐานหลายแบบปืนยิงอิเล็กตรอน 

(Electron  Gun)  จะสร้างลำแสงอิเล็กตรอน  Anode  จะเร่งอิเล็กตรอน Deflecting  Coil  

เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กแบบความถี่ต่ำ  ซึ่งยินยอมให้มีการปรับค่าความคงที่ของ

ทิศทางของลำแสงอิเล็กตรอน  Reftecting  Coil  มี  2  กลุ่มคือ  กลุ่มแนวนอน 

และกลุ่มแนวตั้ง  ความหนาแน่นของลำแสงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ 

ลำแสงอิเล็กตรอนจะสร้างจุดสว่างขนาดเล็ก  เมื่อชนจอภาพที่เคลื่อนด้วยฟอสฟอรัส

ข้อดีของจอ CRT : Cathode  Ray  Tube

        ·          แสดงผลได้หลากหลาย

        ·          มีอัตราความเร็วในการสร้างภาพได้  (Refresh  Rate)  สูงกว่า

        ·          คมชัดกว่า  สีสันสดใสกว่า

            ข้อเสีย

        ·          มีขนาดใหญ่  น้ำหนักมาก

        ·          สิ้นเปลืองพลังงานมากกว่า

        ·          มีความร้อนสูง

Refresh  Rate  คือ  อัตราความถี่ในการแสดงภาพ 

การทำงานของจอคอมพิวเตอร์สามารถ แสดงผลได้โดยการ

ใช้การเรืองแสงของสารประกอบฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนจอภาพคอมพิวเตอร

  สารนี้จะเรืองแสงเมื่อมีการยิงอิเล็กตรอนมาตกกระทบ 

สารจะไม่มีการเรืองแสงอยู่ตลอดเวลา   จึงต้องอาศัยการยิงลำแสงซ้ำที่เดิมบ่อยๆ

  การยิงลำแสงนั้นจะยิงไล่กวาดจากซ้ายบนใหม่  โดยจะทำวนซ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ

  จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของภาพเมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา 

โดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนนี้เรียกว่า  Raster  Scan   โดยที่อัตรา  Refresh  Rate  

คือ  อัตราความถี่ของการยิงลำแสงอิเล็กตรอนจาก มุมซ้ายบนสุดไปจนมุมขวาล่างสุด

  หรือครบทั้งหน้าจอว่าสามารถทำการยิงได้กี่รอบใน  1  วินาที  ซึ่งเรียกว่า 

 Vertical  Refresh  Rate  หรือเรียกสั้นๆ  ว่า  Refresh  Rate   

การเลือกซื้อจอคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องเลือกที่อัตรา  Refresh  Rate  

ที่สูงเนื่องจากอัตรา  Refresh  ที่สูงจะทำให้การให้ภาพนิ่งไม่สั่นไหว 

แต่ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของจอคอมพิวเตอร์ด้วยว่ามีขนาดเท่าใด 

จอคอมพิวเตอร์ยิ่งมีขนาดใหญ่  อัตรา  Refresh  Rate  

ควรมีอัตราที่สูงพอสมควรเพราะจำเป็นต้องใช้ความละเอียด  หรือ 

 Resolution  ที่สูง  อัตราที่ทำให้เกิดการสบายตา 

หรือมีความนิ่งของภาพควรอยู่ที่  65-75  Hz  โดยอัตรา  Refresh  Rate 

จะมีผลต่อสายตาเราโดยตรง  ถ้าอัตรา  Refresh  Rate   ต่ำ 

จะทำให้ภาพที่ได้มีอาการสั่น  กะพริบ  ทำให้เกิดผลเสียกับสายตาได้


      Hz  (Hertz)  คือ  หน่วยของความถี่ 

(ของการเปลี่ยนแปลงสถานะหรือรอบในคลื่นเสียงไฟฟ้า

กระแสสลับหรือรูปแบบคลื่นอื่น)  ของหนึ่งรอบต่อวินาที

·                   จอแอลซีดี  (LCD : Liquid  Crystal  Display)  

เป็นจอคอมพิวเตอร์แบบจอแบนสสร้างขึ้นจากพิกเซลสี 

หรือพิกเซลไมโครมจำนวนมาก  เรียงอยู่ด้านหน้าของเหล่ากำเนิดแส

  หรือตัวสะท้อนแสง  เป็นจอคอมพิวเตอร์ท่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน 

เพราะใช้กำลังไฟฟ้าน้อย  เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีแหล่งจ่ายไฟเป็นแบตเตอรี่

  แต่ะพิกเซลของจอผลึกเหลวนี้  ประกอบด้วย  ชั้นโมเลกุลผลึกเหลวที่แขวง

ลอยอยู่ระหว่างขั้วไฟฟ้าโปร่งแสงสองขั้ว  ที่ทำด้วยวัสดุอินเดียมทินออกไซด์

  (Indium  Tin  Oxide)  และตัวกรอง  หรือฟิลเตอร์แบบโพลาไรซ์สองตัว 

แกนโพลาไรซ์ของฟิลเตอร์นั้นจะตั้งฉากกัน  เมื่อไม่มีผลึกเหลวอยู่ระหว่างกลาง

  แสงที่ผ่านทะลุตัวกรองตัวหนึ่งจะถูกกั้นด้วยตัวกรองแสงอีกตัวหนึ่ง

ก่อนที่จะมีการจ่ายประจุไฟฟ้าเข้าไป  โมเลกุลผลึกเหลวจะอยู่

ในสภาวะไม่เป็นระบบ  ประจุบนโมเลกุลเหล่านี้ทำให้โมเลกุลทั้งหลาย

ปรับเรียงตัวตามร่องขนาดเล็กจิ๋วบนขั้วอิเล็กโตรด 

ร่องบนขั้วทั้งสองวางตั้งฉากกัน  ทำให้โมเลกุลเหล่านี้เรียงตัวในลักษณะ

โครงสร้างแบบเกลียว  หรือไขว้  (ผลึก)  แสงที่ผ่านทะลุผลึกเหลว 

แต่อีกครึ่งหนึ่งผ่านทะลุตัวกรองอีกตัว เมื่อประจุไฟฟ้าถูกจ่ายไปยังขั้วไฟฟ้า 

โมเลกุลของผลึกเหลวก็ถูกดึงขนานกับสนามไฟฟ้า 

ทำให้ลดการหมุนของแสงที่ผ่านเข้าไป 

หากผลึกเหลวถูกหมุนปรับทิศทางโดยสมบูรณ์ 

แสงที่ผ่านทะลุก็จะถูกปรับโพลาไรซ์ให้ตั้งฉากกับตัวกรองตัวที่สอง 

ทำให้เกิดการปิดกั้นแสงโดยสมบูรณ์  พิกเซลนั้นก็มืด 

จากการควบคุมการหมุนของผลึกเหลวในแต่ละพิกเซล 

ทำให้แสงผ่านทะลุได้ในปริมาณต่างๆกัน 

ทำให้พิกเซลมีความสว่างแตกต่างกันไป

ปกติการปรับฟิลเตอร์โพลาไรซ์เพื่อให้พิกเซลโปร่งแสง

  เมื่อพักตัวและทึบแสงเมื่อในสนามไฟฟ้าอย่างไรก็ตาม 

บางครั้งจะเกิดผลตรงกันข้าม  สำหรับเอฟเฟกต์แบบพิเศษ

ปัจจุบันผู้ใช้คอมพิวเตอร์นิยมใช้จอแบน  LCD  (Liquid  Crystal  Display) 

เพราะประหยัดพื้นที่  ขนาดรูปทรงที่โดดเด่น  และจุดเด่นของจอแบนก็คือ 

การประหยัดพลังงาน  จอแบนขนาด  15-17  นิ้ว  ใช้พลังงานเพียง  20-30  วัตต์

  และจะลดลงเหลือ  5  วัตต์ในโหมด Standby  ในขณะที่จอธรรมดาใช้พลังงาน

ถึง  80-100  วัตต์     ข้อดีของจอ  LCD : Liquid  Crystal  Display               

 1.       มีขนาดบาง  น้ำหนักเบา               

 2.       กินไฟน้อยกว่าจอ  CRT     

ข้อเสียของจอ  LCD : Liquid  Crystal  Display               

 1.       ราคาแพง


·                   การ์ดจอ  (VGA  Card : Video  Graphics  Array) 

 คือ  อุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณดิจิตอลให้เป็นสัญญาณภาพ  โดยมี Chop  

เป็นหลักในการประมวลผลการแปลงสัญญาณ  ส่วนภาพนั้นซีพียู 

(CPU : Central  Processing  Unit)  เป็นผู้ประมวลผล 

ปัจจุบันเทคโนโลยีประมวลภาพ  VGA  Card  เป็นผู้ประมวลผลโดย  

Chip  ได้เปลี่ยนเป็น  GPU  (Graphic  Processing  Unit) 

จะมีการประมวลผลภาพในตัว  Card

 


VGA  Card  ตัวแปลงสัญญาณมีระดับความคมชัดที่  700 x 400 

จุด  ปัจจุบันได้พัฒนาให้สามารถแสดงสีได้มากขึ้น 

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนบิตที่ใช้แสดงจำนวนสี  จาก  8  บิต 

เป็น  16  บิต  และ  24  บิต  ฯลฯ SVGA  (Super  Video  Graphics  Array)

  ตัวแปลงสัญญาณภาพมีความละเอียด  1280 x  1024  จุด XGA 

(Extended  Graphic  Array)  ตัวแปลงสัญญาณที่แสดงสีได้พร้อมกัน  256  สี 

มีความละเอียด  1024 x 768  จุด

    การเลือกซื้อจอคอมพิวเตอร์              

1.       เลือกจอคอมพิวเตอร์ที่สามารถเลือกความละเอียดได้หลายโหมด           

  2.       เลือกจอคอมพิวเตอร์ที่มีค่าระยะ  

Dot  Pitch  ต่ำๆเพราะจะทำให้ภาพออกมาคมชัด Dot  Pitch  

คือ  ข้อกำหนดสำหรับจอภาพที่แสดงถึงความมชัดในการแสดงภาพ 

ความคมชัดของการแสดงภาพมีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรและตัวเลขที่น้อย 

หมายความว่า  มีความคมชัดมากขึ้น  จอคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะโดยทั่วไปมี 

 Dot  Pitch  25  มม.  26  มม.  27  มม.  28  มม.  และ  31  มม. 3.      

 เลือกจอคอมพิวเตอร์ขนาด  15  นิ้วขึ้นไป  เพราะปัจจุบันจอคอมพิวเตอร์ 

14  นิ้ว  และ  15  นิ้ว  ราคาใกล้เคียงกัน 4.       ควรใช้จอแบน 

เพราะภาพที่ได้จะมีสัดส่วนที่ถูกต้องเป็นธรรมชาติมากกว่าจอปกติ

5.       ตรวจดูปุ่มรับการควบคุมจอคอมพิวเตอร์ต่างๆ  ว่าสามารถปรับค่าอะไรได้บ้าง 

และใช้งานได้สะดวก 6.       จอคอมพิวเตอร์ที่เป็นที่นิยม 

คือ  CTX,  ADI,  LG,  MAG,  Panasonic,  Phillips,  SONY,  SAMSUNG  ฯลฯ

การ์ดแลน  (LAN  Card)  คือ  การ์ดที่ติดตั้งในเมนบอร์ดของ

เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเท่า  VGA  Card,  Sound  Card  LAN  Card 

ใช้สำหรับรับ-ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร

์อีกเครื่องหนึ่ง  หรือไปยังอุปกรณ์อื่นๆ  ในระบบเครือข่ายแบ่งออกได้หลาย

ประเภทขึ้นอยู่กับความเร็วที่ต้องการ  เช่น  10  Mbps  (Megabit  per  Second), 

10  Mbps  (Megabit  per  second)  เป็นต้น


การ์ดเสียง  (Sound  Card)  คือ  อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์แสดงผล

ในรูปแบบเสียงได้คุณภาพของเสียงขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของ  Sound  Card 

ความชัดเจนของเสียงขึ้นอยู่กับอัตราการสุ่มตัวอย่างและความแม่นยำของตัวอย่างที่ได้ 

ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนดโดยความสามารถของ 

 A/D  Converter  ว่ามีความละเอียยดมากน้อยเพียงใด 

และทำอย่างไรตึงจะประมาณค่าสัญญาณดิจิทัลได้ใกล้เคียง

กับสัญญาณเสียงมากที่สุด  ความละเอียดของ  A/D  Converter  

ถูกกำหนดโดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิทัลเอาต์พุต  เช่น           

 ·       A/D  Converter  8  Bit  จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้  256  ระดับ       

     ·       A/D  Converter  16  Bit  สามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้  65,536  ระดับ         


A/D  ย่อมาจาก  Analog-to-Digital  Converter  

คือ  อุปกรณ์แปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิทัลเมื่อแปลงสัญญาณแล้วจึง

ส่งมาให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล  วิเคราะห์  แสดงผลและส่งข้อมูลได้ 

หลักการที่สำคัญของตัวแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิทัล 

คือ  ปริมาณข้อมูลดิจิทัลที่ได้มาจากสัญญาณอนาล็อก 

ความถูกต้องของการแปลงสัญญาณนี้ขึ้นอยู่กับความถี่

ในการสุ่มจับข้อมูลอนาล็อกแต่ละครั้งและข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้ 

แผ่นวงจรเสียงที่ทันสมัยสามารถสุ่มจับข้อมูลและเล่นย้อนหลังกลับได้ที่ความถี่ 

 44.1  กิโลเฮิรตซ์  โดยใช้ตัวแปลงอนาล็อกเป็นดิจิทัล  16  บิต

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ทำให้เมนบอร์ดของเครื่องพีซี

แทบทุกตัวติดตั้งวงจรแสดงผล  การประมวลผลในรูปเสียงมาในตัวเมนบอร์ด 

หรือที่เรียกกันว่า  “Sound  on  Board”  จึงไม่จำเป็นต้องซื้อ  Sound  Card  

มาใช้งานอีกต่อไป  เป็นการประหยัดงบประมาณได้อีกระดับหนึ่ง

·                    โปรเจคเตอร์  (Projector)  คือ  เครื่องฉายภาพที่นิยมใช้ในการสอน

หรือการประชุม  ใช้นำเสนอข้อมูลให้กับผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก 

อุปกรณ์ฉายภาพในปัจจุบันมีอยู่หลายแบบสามารถต่อสายสัญญาณ

กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง  หรือใช้อุปรณ์พิเศษวางลงบนเครื่องฉาย

ภาพข้ามศีรษะ  (Overhead  Projector)  เหมือนกับอุปรณ์นั้นเป็นแผ่นใส 

อุปกรณ์ฉายภาพจะมีข้อแตกต่างกันมากในเรื่องของกำลังแสงสว่าง 

เนื่องจากยิ่งมีกำลังส่องสว่างสูง  ภาพที่ได้จะชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

กำลังแสงสว่างมีหน่วยวัดค่าอยู่  3  แบบ  คือ         

·       LUX  (llluminance  หรือ  lllumination)  คือ  การแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า

ในช่องความยาวคลื่นที่สายตาของมนุษย์มองเห็น         

·       LUMEN  (Luminance)  คือ  ปริมาณแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุต่อพื้นที่ 

มีหน่วยเป็นแคนเดลาต่อตารางเมตร         

·       ANSI  LUMEN  (American  National  Standard  Institute) 

ส่วน  LUMEN  เป็นหน่วยวัดความสว่างของแสง 

ยิ่งมีค่ามากเท่าไรก็ยิ่งมีความสว่างของเครื่องมากขึ้นเท่านั้น


2.       หน่วยแสดงผลถาวร  (Hard  Copy)  การแสดงผลที่สามารถจับ

ต้องได้และเคลื่อนย้ายได้  คือ  เครื่องพิมพ์  (Printer) เครื่องพิมพ์  (Printer) 

 คือ  อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลในรูปของตัวอักษร  ตัวเลข  และรูปภาพ 

ลงบนกระดาษ  เครื่องพิมพ์แบ่งได้ 4  ชนิด  คือ

1.  เครื่องพิมพ์ชนิดดอตเมทริกซ์  (Dot  Matrix)  

การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุดลงบนกระดาษ

โดยตรง  หัวของเครื่องพิมพ์เป็นเข็ม  (Pin)  เมื่อต้องการพิมพ์อะไร

ลงบนกระดาษหัวเข็มจะไปกระทบผ่านผ้าหมึกติดลงบนกระดาษ 

เครื่องพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดังพอสมควร  ความคมชัดของข้อมูลจะ

ขึ้นอยู่กับจำนวนจุด  ถ้าจำนวนจุดมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษ

ก็คมชัดมากขึ้น  ความเร็วของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะอยู่ที่  200-300 

 ตัวอักษรต่อวินาที  หรือประมาณ  1-3  หน้าต่อนาที

  เครื่องพิมพ์ชนิดดอตเมทริกซ์เหมาะกับงานแบบฟอร์ม 

เช่น  ใบเสร็จรับเงิน  เป็นต้น     จุดเด่นของเครื่องพิมพ์ชนิดดอตเมทริกซ์       

     ·       ตลับหมึกสามารถใช้งานได้นาน           

 ·       ประหยัดงบประมาณในการซื้อหมึก

    จุดด้อยของเครื่องพิมพ์ชนิดดอตเมทริกซ์           

 ·       ขณะพิมพ์มีเสียงดัง


2. เครื่องพิมพ์ชนิดพ่นหมึก  (Ink-jet  Printer) 

 เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพการพิมพ์ดีกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดอตเมทริกซ์ 

สามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบและขนาดที่แตกต่างกัน 

รวมไปถึงพิมพ์งานกราฟฟิกที่คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ดอตเมทริกซ

์  เทคโนโลยีที่ใช้ในการพิมพ์  คือ  การพ่นหมึกหยดเล็กๆไปติดที่กระดาษ

 เครื่องพิมพ์ชนิดพ่นหมึกมีความเร็วในการพิมพ์ที่เร็วกว่าเครื่องพิมพ

์ชนิดดอตเมทริกซ์หากพิมพ์งานกราฟฟิก  เครื่องพิมพ์ชนิดพ่นหมึกจะ

ทำงานช้าลง  พิมพ์ได้ทั้งแนวตั้ง  เรียกว่า  “พอร์ตเทรท  (Portrait)” 

 และแนวนอน  เรียกว่า  “แลนด์สเคป  (Landscape)”

จุดเด่นเครื่องพิมพ์ชนิด  Inkjet           

  ·   หาซื้อง่าย  รองรับงานพิมพ์ทุกรูปแบบ             

 ·   ราคาถูก               

 ·   ใช้ได้กับกระดาษ  A3  และ  A4           

 ·    การพิมพ์เป็นแบบพ่นหมึก  ไม่เกิดเสียงรบกวน       

  ·    พิมพ์ได้ทั้งขาว-ดำ  และสี               

 ·    ใช้ถ่ายเอกสาร  Scan,  Fax  และงานเอกสารอื่นๆ                                                                  

 จุดด้อยเครื่องพิมพ์ชนิด  Inkjet                 

·   คุณภาพของหมึกไม่สามารถกันน้ำได้

3. เครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์  (Laser  Printer) 

 คุณสมบัติของเครื่องชนิดเลเซอร์เหมือนกับเครื่องพิมพ์ชนิดพ่นหมึก 

ต่สามารถทำงานได้เร็วกว่า  พิมพ์งานกราฟิกได้คมชัด 

ใช้เทคโนโลยีเหมือนกับเครื่องถ่ายเอกสาร  คือ 

ยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษ  หน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร

  คือ  PPM  (Pages  Per  Minute)  ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร

์มีคุณภาพสูง  มีความสามารถในการพิมพ์ได้หลายร้อยหน้าต่อนาที 

เหมาะสมกับงานในองค์กรขนาดใหญ่  คุณภาพของการพิมพ์วัดที่การสร้าง

จุดลงในกระดาษขนาด  1  ตารางนิ้ว  เช่น  ความละเอียดที่  300  DPI  (Dot  Per  Inch)

  หรือ  600  DPI  (Dot  Per  Inch)  หรือ  1,200  DPI  (Dot  Per  Inch) 

เครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์มีทั้งขาว-ดำ  และเครื่องพิมพ์เลเซอร์ชนิดสี 

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ชนิดสี  มีราคาสูง  แต่คุณภาพการพิมพ์ดี   

 จุดเด่นของเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์             

       พิมพ์ได้เร็วและเก็บเสียงได้ดี           

 ·       คุณภาพหมึกดี  กันน้ำได้             

·       รองรับการพิมพ์ทั้งขาว-ดำ  และสี           

 ·       รองรับการใช้งานอื่นๆ  เช่น  Scan,  งานถ่ายเอกสาร             

·       รองรับการใช้  Fax             

·       รองรับการใช้งานบนระบบเครือข่าย        

    จุดด้อยของเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์             

·       ราคาเครื่องค่อนข้างสูง  หมึกมีราคาแพง       

     ·       เครื่องมีขนาดใหญ่

4. เครื่องพิมพ์ชนิดพล็อตเตอร์  (Plotter) 

คือ  เครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาเขียนข้อมูลลงบนกระดาษ

เหมาะกับงานออกแบบทางวิศวกรรม  และงานตกแต่งภายใน

  สำหรับงานสถาปนิก  เครื่องพิมพ์ชนิดพล็อตเตอร์ทำงาน

ดยวิธีการเลื่อนกระดาษ  และสามารถใช้ปากกาได้  6-8  สี 

มีหน่วยวัดความเร็วในการพิมพ์  คือ  นิ้วต่อวินาที  (IPS : Inch  Per  Second)


การเลือกซื้อเครื่องพิมพ์ 1.       ความละเอียดเพื่อวัดความชัดของการพิมพ์ 

โดยวัดเป็นจุดต่อนิ้ว  (DPI : Dot  Per  Inch)  เช่น  600 X 600  DPI, 

720 X 720  DPI  ความละเอียดยิ่งมาก  ความคมชัดยิ่งสูง

2.       เลือกตามลํกษณะงานที่ต้องการใช้  เช่น  งานพิมพ์เอกสาร 

การพิมพ์ภาพกราฟิก

3.       ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ต่อหน้า  ควรเลือกเครื่องพิมพ์ในรุ่นที่มีโหมดประหยัด

4.       ความเร็วในการพิมพ์  ระดับต่ำสุด 

คือ  จะพิมพ์ได้  2  หน้าต่อนาที  บางเครื่องอาจพิมพ์ได้  6-7  หน้าต่อนาที

5.       ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่ใช้หมึกแบบแยกตลับสี 

เมื่อสีใดหมดก็ซื้อเฉพาะสีนั้นมาเปลี่ยน

6.       ราคาของหมึกพิมพ์ไม่แพง

7.       โปรแกรมที่ให้มากับเครื่องพิมพ์ 

เช่น  โปรแกรมสติ๊กเกอร์ 2.19  ยูเอสบี  แฟลชไดร์ฟ  (USB  Flash  Drive) 

หรือแฮนดี้ไดร์ฟ  The  USB  Implementers  Forum  หรือ  (USB-IF) 

เป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงผลกำไร  จะคอยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา  

USB  กลุ่ม  USB-IF  ประกอบด้วย  หน่วยงานที่มีความสำคัญ 

ไม่ว่าจะเป็น Apple  Computer,  Hewlett  Packard,  NEC,  Microsoft, 

Intel  and  Agere  SystemsUSB  ได้พัฒนาก้าวหน้าเข้าสู่ยุคไร้สายจนเกิดเป็น

  Wireless  USB  หรือ  WUSB  เป็นเทคโนโลยีที่มีการเชื่อมต่อไร้สาย

แบบแรกที่มีความสามารถทำงานร่วมกับระบบเดิม  หรือ  USB  แบบธรรมดาได้ 

โดยยอมให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากถึง  127  ชิ้น 

มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลถึง  480  Mbps  ที่รัศมี  4  เมตร 

และความเร็วจะลดต่ำลงจนเหลือประมาณ  110  Mbps  

หากมีการวางอุปกรณ์ห่างออกไปจนถึงประมาณ  10  เมตร 

นับได้ว่าเป็นความก้าวหน้าที่จะช่วยทำให้ผู้ใช้เกิดความสะดวกสบาย             

USB  (Universal  Serial  BUS)  พัฒนาโดย  COMPAQ,  Digital  Equipment  

(รวมกิจการกับ  COMPAQ),  IBM,  Intel,  Microsoft,  NEC 

และ  Northern  Telecom  เพื่อขยายขีดความสามารถในการทำงานของพอร์ตอนุกรม 

เป็นอินเทอร์เฟซที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์  I/O  กับคอมพิวเตอร์             

USB  เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล  ใช้หน่วยความจำแบบแฟลชทำงานร่วมกับยูเอสบี  

1.1  หรือ  2.0  มีขนาดเล็ก  น้ำหนักเบา  ปัจจุบันแฟลชไดร์ฟที่จำหน่ายโดยทั่วไป

ความจุตั้งแต่  4  GB  ถึง  2  TB     ประโยชน์ของแฮนดี้ไดร์ฟ  (Handy  Drive)

            1.       มีความจุสูง

            2.       เก็บข้อมูลได้ทุกประเภท  ไฟล์ข้อมูล 

 Presentation  เพลง  MP3  รูปภาพดิจิตอล  วิดีโอ  ฯลฯ

            3.       สามารถใช้ได้ทันที  (Plug & Play)  กับคอมพิวเตอร์ 

รวมทั้ง  Notebook  ทุกเครื่องทุกระบบ  Plug                          

&  Play  คือ  รับบที่ช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆ 

ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างอัตโนมัติ

            4.       สามารถใช้ได้กับ  Windows,  Linux,  Apple  iBook

            5.       มีความทนทานสูง

            6.       มีขนาดเล็ก  เบา  พกพาได้สะดวก

                   2.20  Wireless  USB  (WUSB)  เกิดจากแนวคิด 

และใช้พื้นฐานเดียวกับ  USB  แต่พัฒนาให้เป็นแบบการสื่อสาร

ไร้สายโดยมีเป้าหมายเช่นเดียวกับ  USB  

คือ  ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง 

รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ  โดยเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่นำมา

ใช้เพื่อเชื่อมต่อไร้สายที่มีชื่อเรียกว่า  “อัลตราไวด์แบนด์ 

 Ultra  Wide  Band  (UWB)”  โดยมีมาตรฐานการเชื่อมต่อที่มีความเร็วสูง

  ปลอดภัย  และมีความมั่นคงแข็งแรง  สามารถเชื่อมต่อได้ในระยะไกลประมาณ  

10  เมตร  คลื่นความถี่วิทยุของ  UWB  จะอยู่ในช่วง  3.1-10.6  GHz  

ซึ่งยากต่อการเกิดสัญญาณรบกวนจากเทคโนโลยีไร้สายอื่นๆ 

ได้แก่  Wi-Fi  บลูทูธ  โทรศัพท์ไร้สาย  หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ 

เช่น  เตาไมโครเวฟ  เป็นต้น

    ข้อดีของ  Wireless  USB  คือ

            1.       การเชื่อมต่อโดยปราศจากข้อจำกัดในเรื่องการต่อสาย

            2.       สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ 

 PC  หรือ  Notebook  โดยไม่ต้องใช้สายอีกต่อไป

            3.       มีรัศมีทำการไกลสุดอยู่ที่  30  ฟุต

            4.       เกิดการยืดหยุ่นในการใช้งานในลักษณะ  Wireless  

ให้กับอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ

                       2.21  แอร์การ์ด  (Air  Card)  คือ  อุปกรณ์โมเด็มอย่างหนึ่ง

ที่ใช้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์  Desktop  หรือ  Laptop 

 เข้าสู่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สาย  โดยผ่านโครงข่าย

สัญญาณโทรศัพท์มือถือ  และในขณะที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 

ยังสามารถใช้โทรศัพท์โทรออกและรับสายได้ในเวลาเดียวกัน 

เพราะระบบแอร์การ์ดมีการใช้ช่องสัญญาณคนละช่องกัน 

แต่จะใช้  Cell  Site  เดียวกัน  หรือทำหน้าที่เป็นแฟกซ์ไร้สายได้ด้วย

            Cell  Site  คือ  จุดที่ติดตั้งเครื่องรับ-ส่งวิทยุที่มีกำลังส่ง

ต่ำจำนวนมาก  กระจายเป็นจุดๆทั่วพื้นที่ให้บริการ 

จุดที่ตั้งเครื่องรับ-ส่งวิทยุเหล่านี้  เรียกว่า  “สถานีฐาน 

(Base  Station)  หรือ  Cell  Site”

            คุณสมบัติของ  Air  Card

1. สามารถรองรับระบบปฏิบัติการได้หลายระบบ 

เช่น  Windows  Vista,  Windows  XP,  Windows  ME, 

Windows  2000, โดยเสียบเข้ากับ  Port  USB  

หรือใช้  Slot  PCMCIA  ของ  Laptop  เป็นต้น

2.สามารถอัพเกรดเฟิร์มแวร์  (Firmware)  ได้ 

โดยใช้งานได้กับเครือข่าย  UMTS/EDGE/GSMUMTS

  (Universal  Mobile  Telecommunication  System) 

คือ  เครือข่ายในยุค  3G  ที่พัฒนามาจากเครือข่าย  GSM

เฟิร์มแวร์  (Firmware)  คือ  ซอฟต์แวร์ที่ฝังอยู่ในฮาร์ดแวร

์ของระบบคอมพิวเตอร์  โดยผู้ใช้สามารถอ่านและเรียก

ใช้งานเฟิร์มแวร์ได้  แต่ไม่สามารถเขียน  แก้ไข  หรือลบเฟิร์มแวร์ได้

            ตัวอย่างเฟิร์มแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์

                · ไบออส  (BIOS : Basic  Input  Output  System) 

ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

                · โปรแกรมที่อยู่ในรอม  (ROM) 

เป็นการเขียนเฟิร์มแวร์ฝังข้อมูลการทำงานของฮาร์ดแวร์ไว้ถาวร

          · โปรแกรมใน  ไอซี  (IC : Integrated  Circuit) 

ส่วนมากจะเป็นการใช้โครงสร้างของฮาร์ดแวร์แทนการทำงานของซอฟต์แวร์

                ·  โปรแกรมในอีพรอม  (EPROM)  สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยฮาร์ดแวร์พิเศษ

EPROM  ย่อมาจาก  Erasable  Programmable  Read-Only  Memory 

 เป็นหน่วยความจำรอมที่สามารถลบ  หรือแก้ไข  หรือเขียนซ้ำได้ 

และสามารถทำได้หลายครั้ง  ข้อมูลจะถูกบันทึก 

โดยการให้สัญญาณที่มีแรงดันสูงเข้าไปใน  EPROM  

การลบข้อมูลใน  EPROM  จะต้องทำการฉายแสงอัลตรา

ไวโอเลตผ่านกระจกแสงเข้าไป  เมื่อฉายแสงไปสักครู่ 

ข้อมูลภายในจะถูกลบทิ้งไป

            แม้ว่าหน่วยความจำประเภท  EPROM  จะลบและโปรแกรมข้อมูล

ได้ด้วยกระแสไฟฟ้า  ซึ่งมีความสะดวกในการใช้งาน  แต่ความเร็วในการอ่าน-เขียนข้อมูลจะไม่เร็วเท่าที่ควร


            EDGE  (Enhanced  Data  Rates  for  Global  Evolution) 

 คือ  วิธีการสื่อสารระบบสู่โลกอินเทอร์เน็ตโดย  EDGE  

จะมีความเร็วมากกว่า  GPRS  ถึง  4  เท่า  มีความเร็วสูงสุดอยู่ในระดับ 

 200-300  Kbps

GSM  (Global  System  for  Mobile  Communication)  

คือ  มาตรฐานของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

            3G  (Third  Generation)  คือ  เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่  

3  อุปกรณ์การสื่อสารในยุคที่  3  นี้จะผสมผสานการนำเสนอข้อมูล

และเทคโนโลยีในยุคปัจจับนเข้าด้วยกัน

  เช่น  PDA  โทรศัพท์มือถือ  Walkman  กล้องถ่ายรูป  และอินเทอร์เน็ต  เป็นต้น


  1. สามารถรองรับซิมของระบบโทรศัพท์มือถือได้ทุกเครือข่าย 

รองรับระบบ  3G  และ  EDGE  Class  12/GPRS  Class  12 

2. รองรับการใช้งาน  Voice  หรือส่ง  SMS 

3. รองรับการใช้งานโทรศัพท์และแฟกซ์

 4. ควรเลือกแอร์การ์ดที่กินไฟน้อย 

เพราะเหมาะสำหรับการใช้งานกับเครื่องโน๊ตบุ๊ค  หากใช้แอร์การ์ดที่กินไฟมากๆ 

พลังงานในแบตเตอรี่ของเครื่องก็จะหมดเร็วไปด้วย  Wi-Fi  (Wireless  Fidelity) 

คือ  ชุดผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย 

WLAN)  ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน  IEEE  802.11

                       2.22  โมเด็ม  (Modem)  มาจากคำว่า  Modulate 

 และ  Demodulate  ผสมกัน  คือ  กระยวนการแปลงข้อมูลข่าวสาร

ดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วส่งข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์ไปยังปลายทาง   

และโมเด็มจากเครื่องปลายทางจะแปลงสัญญาณอนาล็อก

กลับเป็นสัญญาณดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเพื่อแสดงผลที่จอคอมพิวเตอร

์เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง

    โมเด็มแบ่งตามลักษณะการใช้งาน  3  ชนิด

1. โมด็มที่ติดตั้งภายนอก  (External  Modem)  

จะต่อกับ  Serial  Port  ใช้หัวต่อที่เป็น  DB-25  หรือ  

DB-9  ต่อกับ  Com1,  Com2,  หรือ  USB

ข้อดีของโมเด็มที่ติดตั้งภายนอก

                1.       เคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นได้สะดวก

                2.       ติดตั้งง่าย

                3.       ไม่เพิ่มความร้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะ

ใช้แหล่งจ่ายไฟจากภายนอก

                4.       ใช้กับเครื่อง  Notebook  ได้เนื่องจากต่อกับ  

Serial  Port  หรือ  Parallel  Port

                5.       มีไฟแสดงสภาวะการทำงานของโมเด็ม


    ข้อเสียของโมเด็มที่ติดตั้งภายนอก

                1.       ราคาแพง

                2.       เกิดปัญหาจากสายต่อง่าย

                       พอร์ตอนุกรม  (Serial  Port)  คือ  พอร์ตที่ส่งสัญญาณข้อมูลทีละ  

1  บิต  ความเร็วของการรับ-ส่งข้อมูลจะขึ้นอยู่กับความถี่ที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูล

  และขนาดความกว้างของช่องสัญญาณ  Bandwidth  ในวงการคอมพิวเตอร์จะเรียก 

 Serial  Port  ว่า  Communication  Port มี  com1,  com2,  com3, 

 ซึ่งต้องเลือกใช้ระหว่าง  Port  Com1,  หรือ  Com2 

 และต้องเลือกใช้ระหว่าง  Com3  หรือ  Com4  ไม่สามารถใช้พร้อมกันได้ 

เพราะในทางกายภาพ  Com1,  3  Port  คือ  พอร์ตเดียวกัน  และ  Com 2,  4 

 คือ  พอร์ตเดียวกัน  จะแตกต่างกันในทางตรรกะ

    พอร์ตขนาน  (Parallel  Port)  คือ  พอร์ตที่ทำหน้าที่ต่อกับเครื่องพิมพ์ 

โดยเฉพาะเครื่องพิมพ์แบบ  Dot  Matrix

       

    PCMCIA  MODEM  คือ  Card  ที่ใช้งานเฉพาะกับคอมพิวเตอร์  

Notebook  เสียบเข้าไปในช่องสำหรับเสียบ  Card  

โดยเฉพาะสะดวกในการพกพา  ปัจจุบัน  Modem  สำหรับ  Notebook 

 จะติดตั้งมาพร้อมกันอยู่แล้ว  Card  Modem  จึงไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน


       คุณลักษณะของโมเด็มแต่ละประเภท

1.ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล  หมายถึง  อัตรา  (rate) 

ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆ 

มีหน่วยเป็นบิตต่อวินาที  (Bps : Bit  per  second)  หรือกิโลบิต/วินาที 

(Kbps : Kilo  bit  per  second)  การบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อ

ให้ง่านต่อการพูดและจดจำ  มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน 

เช่น  โมเด็ม  56,000  bps  จะเรียกว่า  โมเด็มขนาด  56  K  เป็นต้น

2.ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล  ข้อมูลที่ส่งผ่านโมเด็มสามารถ

ทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล  ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้

ครั้งละมากๆ  และเป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ-ส่งข้อมูล

3.ความสามารถใช้เป็นโทรสาร  โมเด็มรุ่นใหม่ๆมีความสามารถส่งและรับโทรสาร

  (Fax)  หากมีซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม  สามารถใช้แฟกซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์ 

เมื่อพิมพ์ข้อมูลเข้าไปที่แฟกซ์โมเด็มก็จะส่งข้อมูลไปยังโทรสารปลายทาง

4.ความสามารถในการควบคุมข้อผิดพลาดได้มากมายหลายวิธีในการ

ตรวจสอบและยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆ  สูญหายในระหว่างการส่งถ่าย

ข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง

5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก

6. ใช้โมเด็มเป็นโทรศัพท์ได้  โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์เข้าไป

พร้อมกับความสามารถในการรับ-ส่งข้อมูล  และโทรสารด้วย

ข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็ม

                    1.  เข้ากันได้กับระบบการทำงาน  OS  (Operating  System) 

ของเครื่องคอมพิวเตอร์

                    2.  เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์

                    3. ความเร็วในการรับ-ส่งสัญญาณที่เหมาะสม

                    4. ต้องการโมเด็มที่ติดตั้งภายใน  หรือโมเด็มที่ติดตั้งภายนอก

                    5.ความสามารถในการควบคุมข้อผิดพลาด

                    6. รับ-ส่งโทรสารได้

                    7.ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสื่อสาร

                       2.23  ฮับ  (HUB)  คือ  อุปกรณ์ตัวกลางที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร

์เข้าด้วยกันประกอบด้วย  อุปกรณ์  3  อย่าง  คือ

       หลักการทำงานของฮับ  (HUB)

            ฮับจะส่งสัญญาณออกไปหาทุกเครื่องในระบบเครือข่ายพร้อมๆกัน 

เมื่อทุกเครื่องได้รับสัญญาณ็จะตรวจสอบหมายเลข 

ถ้าไม่ใช่ข้อมูลที่ระบุถึงตนเองก็จะไม่รับข้อมูล 

จากนั้นสายจะว่างเพื่อให้เครื่องอื่นใช้งานต่อไป 

ฮับเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 

แต่ฮับก็มีข้อจำกัด  คือ  เครื่องลูกข่ายที่ทำการเชื่อมต่อระหว่างฮับจะถูก  

Share  Bandwith  ระหว่างกัน  ทำให้ไม่ได้รับความเร็วเต็มที่ 

เช่น  เครือข่าย  ก.มีความเร็ว  120  MB  มีเครื่องลูกข่ายต่อเชื่อมอยู่  4  ตัว 

ก็หมายความว่า  ความเร็วเฉลี่ยของเครือข่ายนี้อยู่ที่  30  MB  

(จำนวนเครื่องลูกข่าย  หารด้วยความเร็ว)  แต่นั่นมิได้หมายความว่า 

ความเร็วที่ได้รับจะอยู่ที่  30  MB  เสมอไป  หากการจราจรในเครือข่ายไม่คับคั่ง 

ความเร็วอาจเพิ่มมากขึ้นเป็น  50  MB  หรือ  70  MB  ก็ได้  ด้วยข้อจำกัดนี้ทำให้ 

 Swith  เข้ามาแทนที่  เพราะ  Switch  สามารถกระจายช่องสัญญาณ

ไปยังเครือข่ายได้ที่ความเร็วสูงสุดอย่างสม่ำเสมอ

            2.23  สวิตช์  (Switch)  บางครั้งเรียกว่า  Switching  HUB  

สามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตที่ปลายทางเท่านั้น 

ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้

ในเวลาเดียวกัน  การกระทำเช่นนี้ทำให้อัตราการส่งข้อมูลหรือ Bandwidth  

ไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับ  Switch  

คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมี  Bandwidth  เท่ากับ  Bandwidth  ของ Switch  ดังนั้น 

เครือข่ายที่ติดตั้งในระยะหลังจึงนิยมใช้  Switch  มากกว่า  HUB  

เพราะจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการชนกันของข้อมูล

            เนื่องจากฮับจะทำให้เครือข่ายทั้งหมดสื่อสารกันได้เพียง  1  คู่เท่านั้น

  เครื่องอื่นๆที่เหลือต้องรอ  จึงมีการพัฒนามาเป็น  Switching  Hub 

คือ  เพิ่มสมองกลพร้อมวงจรตัดต่อที่ซับซ้อนขึ้นเพื่อให้สามารถสื่อสาร

กันได้ทุกเครื่องพร้อมๆกัน  ความเร็วในการเชื่อมต่อของแต่ละเครื่องจึง

ไม่ถูกเฉลี่ยตามจำนวนเครื่องเหมือน  HUB

            ทั้ง  HUB  และ  Switch  เป็นวงจรสื่อสารที่ไม่สามารถควบคุมได้ 

โดยเฉพาะการเชื่อมต่อกัลโลกภายนอก  จึงเกิด  Router  ขึ้นมา 

เพื่อให้สามารถควบคุมการสื่อสารได้  ลักษณะที่โดดเด่นของ  Router  

ที่แตกต่างจาก  Hub  หรือ  Switch  ก็คือ  Router  ทำมาจากการเอาคอมพิวเตอร

์หนึ่งเครื่องไปรวมกับ  Switching  Hub  เพื่อไปควบคุมการสื่อสารนั่นเอง

                2.24  เราท์เตอร์  (Router)  คือ  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์  3 

 หรือเลเยอน์เครือข่าย  Router  จะฉลาดกว่า  HUB  และ  Switch  ตรงที่  

Router  จะอ่านที่อยู่  (Address)  ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล 

เพื่อใช้ในการกำหนดหรือเลือกเส้นทางที่จะส่งแพ็คเกจนั้นต่อไป  ใน  Router 

 จะมีข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเส้นทางให้แพ็คเกจ  เรียกว่า 

 “Routing  Table  หรือตารางการจัดเส้นทาง” 

ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นข้อมูลที่  Router  

ใช้ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดเพื่อส่งข้อมูลไปยังปลายทาง 

ถ้าเส้นทางหลักเกิดขัดข้อง  Router  ก็สามารถเลือกเส้นทางใหม่ได้ 

นอกจากนี้  Router  ยังมีความสามารถส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายที่

ใช้โปรโตคอลต่างกันได้  โปรโตคอลที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่  3 

เช่น  IP  (Internet  Protocol),  IPX  (Internet  Package  Exchange) 

และ  Apple  Talk  ฯลฯ  นอกจากนี้  Router  

ยังสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล  (WAN)  ได้ 

และยังสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับระบบเครือข่ายอื่นๆ 

ที่ใหญ่กว่า  เช่น  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เป็นต้น

            Internet  Protocol  เป็นวิธีการที่ใช้ในการส่งข้อมูลจากเครื่อง

คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นๆ  ในอินเทอร์เน็ต

            Internet  Package  Exchange  เป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ใน 

 Network  Layer  ใช้จัดการแลกเปลี่ยน  Packet  ภายใน  Network  

ทั้งในส่วนของการหาปลายทาง  และการจัดส่ง  Packet


            Apple  Talk  ถูกออกแบบมาให้ทำงานเป็นเครือข่ายแบบ

  Peer-to-Peer  ซึ่งถือว่าทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายสามารถ

เป็นเซิร์ฟเวอร์  (Server)  ได้ทุกเครื่อง  โดยไม่ต้องจัดให้บางเครื่องเป็นเซิร์ฟเวอร์ 

(Server)  ที่ให้บริการโดยเฉพาะ  ต่อมาในปี  ค.ศ.  1989  หรือ  พ.ศ.  2532  

จึงได้มีการพัฒนาโปรโตคอล  Apple  Talk  ให้สนับสนุนเครือข่ายขนาดใหญ่ 

สามารถมีเครื่องลูกข่ายและอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายเพิ่มขึ้น 

เรียกว่า  โปรโตคอล  Apple  Talk  Phase  2  นอกจากนี้ 

ยังเพิ่มโปรโตคอลที่ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบ  

Ethernet และ  Token  Ring  ได้โดยเรียกว่า  Ether  Talk  และ  Token  Talk

                2.25  บริดจ์  (Bridge)  คือ  อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย

เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายภายใน  แม้ว่าจะใช้สายหรือโปรโตคอลที่ต่างกัน 

เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน  บริดจ์จะทำงานอยู่ในคาตาลิงก์เลเยอร์

ตามมาตรฐานของการสื่อสาร

ระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ของ ISO/OSI 

(International  Organization’s  Standards  Open  System  Interconnection)

  บริดจ์ทำหน้าที่จัดการข้อมูลที่ส่งไปมาระหว่าง  2  เครือข่าย 

ด้วยกสนอ่านตำแหน่งของข้อมูลทุกพ็กเกจที่ได้รับ

                2.26  เกตเวย์  (Gateway)  คือ  อุปกรณ์ที่ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อของระบบ

เครือข่าย  ทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู้ระบบเครือข่ายต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต 

ในความหมายของ  Router  ระบบเครือข่าย  ประกอบด้วย  Node ของ  Gateway  

และ  Node  ของ  Host  เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย 

และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น  Node  แบบ  Host  

ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย

หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  คือ  Node  แบบ  Gateway

ในระบบเครือข่ายขององค์กรธุรกิจ  เครื่องแม่ข่ายที่เป็น  Node  แบบ  Gateway  

มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ 

 Proxy  และเครื่องแม่ข่ายแบบ  Firewall  นอกจากนี้  Gateway  รวมถึง  Router  

และ  Switchที่มา : Widebase.net


สรุปท้ายหน่วยที่  2

คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ต้องประกอบด้วย

            1.       หน่วยรับข้อมูล  (Input  Unit)

            2.       หน่วยประมวลผลข้อมูล  (Processing  Unit)

            3.       หน่วยจัดเก็บข้อมูล  (Storage  Unit)

            4.       หน่วยแสดงผลข้อมูล  (Output  Unit)

ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะทำงานได้จะต้องโหลดเอาระบบปฏิบัติการเข้าไป

เก็บไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน 

กระบวนการนี้เรียกว่า  การบูตเครื่อง

Kernel  คือ  ส่วนประกอบหลักของระบบปฏิบัติการ 

ซึ่งจะคอยดูแลบริหารจัดการทรัพยากรของระบบ 

และติดต่อประสานงานกับฮาร์ดดิสก์และซอฟต์แวร์

เดสก์ทอป  (Desktop)  คือ  พื้นที่ฉากหลังของ  Windows 

 ถูกจำลองมาจากการทำงานบนโต๊ะทำงาน

GUI  (Graphic  User  Interface)  คือ การใช้ภาพสัญลักษณ์ติดต่อกับผู้ใช้ 

เป็นการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้มีการโต้ตอบกับผู้ใช้ 

โดยใช้ไอคอน  (ICON)  รูปภาพ  และสัญลักษณ์ต่างๆ 

แทนการพิมพ์คำสั่งในการทำงาน 

ช่วยให้ผู้ใช้ทำงานได้ง่าย

    การบูต  มี  2  ชนิด  คือ

1.โคลบูต  (Cold  Boot)  คือ  การบูตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์  โดยการกดปุ่มสวิตซ์เพาเวอร์

2.วอร์มบูต  (Warm  Boot)  คือ  การบูตเครื่องโดย

ทำให้เกิดกระบวนการบูตใหม่หรือที่เรียกว่า 

“รีสตาร์ตเครื่อง”  ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดชะงัก 

(Hang)  เมื่อคอมพิวเตอร์หยุดชะงักสามารถแก้ไขได้  3  วิธี

1.       กดปุ่ม  Reset  บนเครื่อง

2.       กด  Ctrl+Alt+Del

3.       สั่งรีสตาร์ตเครื่องจากเมนูปฏิบัติการ

    อุปกรณ์ต่อพ่วง

1.แผงแป้นอักขระ  (Keyboard)  เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำ

ข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็น                            

อุปกรณ์รับข้อมูลพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

2.เม้าส์  (Mouse)  คือ  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่ง  แต่ที่เห็นการทำงานโดยทั่วไปจะทำ                        

หน้าที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆบนจอภาพ

3.  แผ่นรองสัมผัส  (Touch  Pad)  คือ  อุปกรณ์ที่มีลักษณะ

เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมบางๆติดตั้งไว้อยู่ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา

เพื่อใช้ทำงานแทนเม้าส์  เมื่อกดส้มผัสหรือใช้นิ้วลากผ่านบริเวรดังกล่าวก็สามารถ             

 ทำงานแทนได้  ส่วนมากจะติดตั้งไว้บริเวณด้านล่างของแป้นพิมพ์

4. ก้านควบคุ้ม  (Joy  Stick)  คือ  อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคันโยก 

มีปุ่มบังคับที่ด้านคันโยก  เพื่อใช้ควบคุม                  

ตำแหน่งบนจอภาพได้ทุกตำแหน่งและทุกทิศทาง 

มักใช้ควบคุมโปรแกรมประเภทเกมที่เป็นภาพ                          

 เคลื่อนไหว  วิดีโอเกม  หรือโปรแกรมประเภทการออกแบบ 

ทำให้ผู้ใช้ควบคุมและใช้งานโปรแกรม                          

คอมพิวเตอร์ได้ง่าย  เมื่อต้องการใช้งานให้นำจอยสติ๊กต่อพ่วงกับพอร์ตจอยสติ๊ก

5.ลูกกลมควบคุม  (Track  Ball)  คือ  อุปกรณ์รับข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายเม้าส์ 

แต่เอาลูกบอลมาวางอยู่ด้านบน  เพื่อลดพื้นที่การใช้งาน 

เมื่อต้องการเคลื่อนตำแหน่งให้ใช้นิ้วมือกลิ้งลูกบอลไปมา  ปุ่มกดก็มีจำนวน  

 เท่ากับปุ่มกดของเม้าส์เพียงแต่วางไว้ด้านข้าง

6.แท่นชี้ควบคุม  (Track  Point)  คือ  อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่มีขนาดเล็ก 

คล้ายกับแท่งยางลบดินสอนิยมใช้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา 

เพราะใช้พื้นที่น้อย  ข้อดีของแท่นชี้ควบคุม  คือ  ไม่ต้องทำสะอาดบ่อยๆ

7.ปากกาแสง  (Light  Pen)  คือ  อุปกรณ์รับข้อมูลชนิดที่มีเซลล์แบบ  

Photoelectric  ซึ่งมีความไวต่อแสง                 

คล้ายเม้าส์ที่ใช้ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ 

มีรูปร่างคล้ายปากกาและมีแสงอยู่ตอนปลาย 

มีสายที่ สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ 

โดยที่ปลายข้างหนึ่งของปากกาจะมีสายเชื่อมที่สามารถต่อเข้ากับ                 

 คอมพิวเตอร์  การใช้งานทำได้โดยการแตะปากกาแสงไปบนจอภาพ

ตามตำแหน่งที่ต้องการ

8.เครื่องอ่านพิกัด  (Digitizing  Tablet)  คือ  อุปกรณ์รับข้อมูลที่มักจะใช้ในงาน 

 CAD/CAM  มีลักษณะเป็น แผ่นสี่เหลี่ยมเท่ากับจอคอมพิวเตอร์ 

และมีอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งคล้านเม้าส์วางบนแผ่นสี่เหลี่ยมเรียกว่า

  “ทรานสดิวเซอร์”  เมื่อเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งไปบนกระดาน 

จะมีการส่งสัญญาณจากตะแกรงใต้แผ่นกระดานไปให้คอมพิวเตอร์

9. หน้าจอสัมผัส  (Touch  Screen)  คือ  หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เป็นอุปกรณ

นำเข้าด้วย  หน้าจอมีความอ่อนไหวกับแรงกด ผู้ใช้สามารถปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ด้วยการสัมผัสภาพหรือค่าบนหน้าจอ

10. เครื่องอ่านบาร์โค้ด  (Bar  Code  Reader) 

คือ  อุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลที่อยู่ในแท่งบาร์โค้ดแล้วแปลงให้

เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจได้โดยคอมพิวเตอร์

11. สแกนเนอร์  (Scanner)  คือ  อุปกรณ์ที่ใช้อ่านหรือสแกนภาพ 

สแกนข้อมูล  หรือเอกสารต่างๆเข้าสู่เครื่อง คอมพิวเตอร์

12. กล้องดิจิตอล  (Digital  Camera)  คือ  กล้องถ่ายรูปที่ไม่ต้องใช้ฟิล์ม

13. ไมโครโฟน  (Microphone)  คือ  อุปกรณ์ที่ใช้แปลงพลังงาน

คลื่นเสียงให้กลายเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้าโดยมีจุดกำเนิด

จากการคิดวิธีส่งสัญญาณโทรศัพท์

14.  หูฟัง  (Headphone)  คือ  อุปกรณ์เครื่องเสียงชนิดหนึ่ง 

จัดอยู่ในประเภทอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลในรูปแบบเสียง

15.ลำโพง  (Loud  Speaker)  คือ  อุปกรณ์ไฟฟ้าเชิงกล

อย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียง

16.อุปกรณ์สำรองไฟ  (Uninterruptible  Power  Supply) 

คือ  เครื่องสำรองไฟฟ้าและปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ

17. เว็บแคม  (Web  Cam)  คือ  กล้องที่ส่งสัญญาณภาพ

ผ่านทางคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานผ่านทาง  World  Wide  Web

18. หน่วยแสดงผล

18.1    หน่วยแสดงผลชั่วคราว  (Soft Copy)  เช่น  จอคอมพิวเตอร์

18.2    หน่วยแสดงผลถาวร  (Hard  Copy)  เช่น  เครื่องพิมพ์

19.  ยูเอสบี  แฟลชไดร์ฟ  (USB  Flash  Drive)  คือ  พอร์ต  หรือช่องทางการสื่อสาร 

หรือเชื่อมต่อระหว่าง  คอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ

20. Wireless  USB  คือ  การเชื่อมต่อโดยปราศจากข้อจำกัดในเรื่องการต่อสาย

21. แอร์การ์ด  Air  Card  คือ  โมเด็มชนิดหนึ่งที่ใช้เชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตออนไลน์

22. โมเด็ม  (Modem)  คือ  การแปลงสัญญาณดิจิตอลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทาง 

ให้กลายเป็นสัญญาณอนาล็อกส่งไปตามสายโทรศัพท์ 

และเปลี่ยนจากสัญญาณอนาล็อกที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับเป็น                    

สัญญาณดิจิตอล  เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง

23. สวิตช์  (Switch)  คือ  อุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่  

2  บางครั้งเรียกว่า  Switching  Hub

24.   เราท์เตอร์  (Router)  คือ  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง 

ทำหน้าที่ในการหาเส้น  ทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด 

และเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น

25. บริดจ์  (Bridge)  คือ  อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมโยงเครือข่ายที่แยกจากกัน

26. เกตเวย์  (Gateway)  คือ  อุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการ

เชื่อมต่อเครือข่ายหลายๆเครือข่ายเข้าด้วยกัน 

สามารถเชื่อมต่อ  LAN หลายๆ  เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน

และใช้ส่งข้อมูลที่ต่างชนิดกันได้โดยไม่มีขีดจำกัด

กลับ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนออนไลน์