บทที่๑ ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์



ความหมายของคอมพิวเตอร์
 คอมพิวเตอร์ (Computer) ตามความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำ หน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทำคณิตศาสตร์"
 คอมพิวเตอร์ หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบ สั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือ คณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจากรูปแบบต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทาง ตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป

2 ประเภทของคอมพิวเตอร์ 
คอมพิวเตอร์มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน มีการแบ่งประเภทตามขนาดออกเป็น 6 ประเภทคือ

 1.2.1 ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
 เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดและมีขีดความสามารถสูงที่สุด ภายในประกอบไปด้วย
หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (Central Process Unit) นับพันตัวที่สามารถคำนวณด้วยความเร็วหลาย
ล้านคำสั่งต่อวินาที จัดเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพงที่สุด และเร็วที่สุดตามความหมายของซุปเปอร์
คอมพิวเตอร์

         ประเภทของงาน เหมาะกับงานที่มีการประมวลผลข้อมูลปริมาณมาก เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การค้นคว้าด้านอากาศยานและอาวุธยุทโธปกรณ์ การสำรวจสามะโนประชากร งานพยากรณ์อากาศ การออกแบบอากาศยาน การสร้างแบบจำลองระดับโมเลกุลการวิจัยนิวเคลียร์ และการทำลายรหัสลับ

1.2.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
 เครื่องเมนเฟรมเป็นเครื่องที่ได้รับความนิยมใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ทั่วๆไปจัดเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่างกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ คือปกติสามารถทำงานได้รวดเร็ว หลายสิบล้านค าสั่งต่อวินาที สำหรับสาเหตุที่ได้ชื่อว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็เพราะครั้งแรกที่สร้างคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ได้สร้างไว้บนฐานรองรับ ที่เรียกว่า คัสซี่ (Chassis) โดยมีชื่อเรียกฐานรองรับนี้ว่า เมนเฟรม



 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นางชมบุญ   ลาภอุปถัมภ์

ผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพสตึก

นายลือเดช บุญโยดม

อาจารย์ผู้สอน

นางสาวจารุมาศ ยะบุญมี

อาจารย์ที่ปรึกษา




 

hit counter