|
|
3.2.3 ชุดกล่องเฟือง (APRON)
ประกอบด้วยเฟืองทด ใช้ในกรณีกลึงอัตโนมัติ ชุดกล่องเฟืองประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ
1. มือหมุนแท่นเลื่อน (Traversing Hand Wheel) ใช้สำหรับหมุนชุดแท่นเลื่อนให้เคลื่อนที่ในแนวซ้าย – ขวา
2. แขนโยกป้อนกลึงอัตโนมัติ (Fed Selector) ใช้สำหรับโยกป้อนกลึงอัตโนมัติ
3. แขนโยกกลึงเกลียว (Lead screw Engagement Lever) ใช้สำหรับโยกกลึงเกลียว
4. ปุ่มดึงสำหรับกลึงเกลียว (Controls Forward or Reverse) ใช้สำหรับดึงเปลี่ยนชุดเฟืองกลึงเกลียว
5. ปุ่มดึงสำหรับกลึงปอกผิวอัตโนมัติ (Feed Lever) ใช้สำหรับดึงเปลี่ยนทิศทางการเดินป้อนอัตโนมัติของแท่นเลื่อนขวางหน้าหลัง
3.2.4 ป้อมมีด (Tool Post)
เป็นส่วนที่อยู่บนสุดใช้จับยึดมีดกลึง มีดคว้าน สำหรับกลึงงานป้อมมีดมีหลายชนิด เช่น ชนิดมาตรฐาน(Standard-type Lathe Tool Post) ชนิดสะพาน 4 มีด (Four-way Turret Tool Post) และชนิดสะพานมีดทางเดียว เป็นต้น
3.2.5 ชุดท้ายแท่น (Tail Stock)
เป็นส่วนที่อยู่ด้านขวามือ ท้ายสุดของเครื่องกลึง ใช้สำหรับจับยันศูนย์ (Lathe Center) เพื่อใช้ประคองงานกลึงที่ยาว ๆ ไม่ให้สั้น หรือหัวจับส่วน (Drill Chuck) เพื่อจับดอกสว่าน (Drill) ดอกเจาะยันศูนย์ (Center Drill) เป็นต้น
นอกจากนี้ยันศูนย์ท้ายแท่น ยังสามารถเยื้องศูนย์ เพื่อใช้ในการกลึงเรียวที่มีความวิธีหนึ่งยาวมาก ๆ ได้อีกยันศูนย์ท้ายแท่นสามารถเลื่อนไป-มาและล็อกได้ทุกตำแหน่งบนสะพานแท่นเครื่อง
3.2.6 สะพานแท่นเครื่อง (Bed)
เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุด ใช้รองรับส่วนต่าง ๆ ของเครื่องกลึง ทำจากเหล็กหล่อ ส่วนบนสุดจะเป็นรายเลื่อน (Bed Way)ที่เป็นรูปตัววี คว่ำและส่วนแบน รางเลื่อนจะผ่านมาชุบผิวแข็งและขุดระดับมากแล้วจึงสึกหรอยาก ส่วนล่างสุดของสะพานแท่นเครื่องจะเป็นฐานรอง
และส่วนที่เก็บระบบปั๊มน้ำหล่อเย็น
3.2.7 ระบบป้อน (Feed Mechanism)
เป็นชุดที่มีความสัมพันธ์กับระบบส่งถึงการทำงานของเครื่องกลึง ซึ่งสามารถปรับความเร็วของเพลาหัวเครื่องได้สามารถปรับอัตรา
ป้อนกลึงตามแนวยาวและแนวขวาง ให้มีความหยาบหรือละเอียด สามารถกลึงอัตโนมัติและยังสามารถกลึงเกลียวได้ทั้งระบบอังกฤษ
(หน่วยเป็นนิ้ว) ละระบบเมตริก (หน่วยเป็นมิลลิเมตร) ระบบป้อนประกอบด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ คือ ชุดเฟืองป้อน ชุดเฟืองขับ
เพลาป้อน และเพลานำ พังภาพที่ 3.11 ซึ่งแต่ละส่วนนี้จะมีการทำงานที่สัมพันธ์กันตลอดเวลา
3.2.8 การกำหนดขนาดของเครื่องกลึง
ขนาดของเครื่องกลึงจะมีการกำหนดมาตรฐานจากความสามารถของเครื่องกลึงหลายส่วนแต่ที่นิยมบอกขนาดมาตรฐานจะบอกที่ขนาด
ความสูงของศูนย์เหนือแท่นเครื่อง(Radius or One Half Swing) ขนาดที่นิยมใช้งานกัน คือ 125 มม. 150 มม. 240 มม.
ขนาดมาตรฐานเครื่องกลึงตัวอย่าง เครื่องกลึงขนาด 125 มม.
· ความสูงของศูนย์เหนือแท่น (R) ไม่น้อยกว่า 125 มม. หรือมีขนาดความโตงานที่จับได้สูงสุด (A) 150 มม.
·ระยะห่างระหว่างปลายยันศูนย์หัวเครื่องและท้ายเครื่อง (B) ไม่น้อยกว่า 750 มม.
·ความยาวของแท่นเครื่อง (C) เครื่องกลึงบางยี่ห้อไม่ได้ระบุขนาดมา
· รูแกนเพลาที่หัวเครื่องมีขนาดไม่น้อยกว่า 32 มม.
· ขนาดเรียวที่เพลาหัวเครื่องไม่เล็กกว่าเรียวมอร์ส เบอร์ 3
|
|
|
|