การส่งข้อมูลต้องมี IP Address
หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเรียกสั้น ๆ ว่า หมายเลขไอพี (IP Address) เป็นหมายเลขชุดหนึ่งที่มีขนาด 32 บิต โดยที่หมายเลขชุดนี้จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิต ซึ่งในแต่ละส่วนจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 อาทิ 205.42.117.104 ฯลฯ
ทั้งนี้หมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไม่ซ้ำกัน เนื่องจากที่หมายเลขไอพีจดจำได้ยาก และถ้าหากมีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากในระบบเครือข่าย ก็อาจจะทำให้เราจำสับสนได้ ดังนั้นจึงได้เกิดเป็นตัวอักษรย่อของเลข IP Address ขึ้นมา เรียกว่า Domain Name Server หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ดีเอ็นเอส (DNS) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อและโดเมน (โดเมนมีมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับงานหน่วยงานและประเทศต่าง ๆ มีดังนี้)
1. โดเมนระดับบนสุด จะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่มีระบบเครือข่ายตั้งอยู่ (ทั้งนี้กรณีที่เป็นโดเมนระดับบนสุดที่บอกประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่นั้น จะต้องมีโดเมนระดับย่อยด้วย เพื่อระบุบประเภทขององค์กร)
2. โดเมนระดับย่อย จะเป็นโดเมนที่ใช้ประเทศ ซึ่งจะบอกถึงรายละเอียดของประเภทขององค์กร
โดเมนที่นิยมใช้กันทั่วโลก และถือว่าเป็นสากล อาทิ…
– .com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
– .edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
– .int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
– .org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
โดเมนที่ลงท้ายด้วย .th มีดังต่อไปนี้
– .ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
– .co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
– .go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
– .net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
– .or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
– .in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่ว ๆ ไป |