บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเว็บไซต์ระบบอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต(INTERNET) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย
รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่ต้อง
การเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า INTERNET หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า INTE
และคำว่า NET ซึ่ง INTER หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า NET มาจากคำว่า NETWORK
หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
IP (INTERNET PROTOCAL) ADDRESS คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน INTERNET
ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (INTERNET ASSIGNED NUMBER AUTHORITY) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น PUBLIC ADDRESS
ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ ตรง ๆ จาก
APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย ROUTER ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP ADDRESS จาก ISP
เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า BANDWIDTH เช่น 2 MBPS แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาก็จะได้ความเร็ว
ในปัจจุบันไม่เกิน 56 KBPS ซึ่งเป็น SPEED ของ MODEM ในปัจจุบัน IP ADDRESS คือเลข 4 ชุด
หรือ 4 BYTE เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 CLASS C เพื่อแจกจ่ายให้กับ HOST ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197
ถึง 203.1 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข
1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254
1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534
1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214
ประวัติความเป็นมาประวัติในระดับนานาชาติ
- อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network)
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD)
ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)
- พ.ศ.2512(ค.ศ.1969) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีพ.ศ.2512 นี้เองได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิ้น สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทหาร เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีพ.ศ.2518(ค.ศ.1975) จึงเปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ
(Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Information Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก IAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงาน
โดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
- พ.ศ.2526(ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529(ค.ศ.1986) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2533(ค.ศ.1990) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
- ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ตัดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับคือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ประวัติความเป็นมาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
- อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ.2530(ค.ศ.1987) โดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(http://www.psu.ac.th)และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (http://www.ait.ac.th) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย(http://www.unimelb.edu.au) แต่ครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท
์ (Dial-up line) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เสถียร จนกระทั่ง ธันวาคม ปีพ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
ของมหาวิทยาลัย 6 แห่ง เข้าด้วยกัน (Chula, Thammasat, AIT, Prince of Songkran, Kasetsart and NECTEC) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยสาร(http://www.thaisarn.net.th) และขยายออกไปในวงการศึกษา หรือไม่ก็การวิจัย การขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2537 มีสถาบันการศึกษา
เข้าร่วมถึง 27 สถาบัน และความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (http://www.cat.or.th) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน สามารถเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
(ISP - Internet Service Provider) และเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปสามารถเชื่อมต่อ Internet ผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาต
จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย
ความหมายและความสำคัญของเว็บไซต์
เว็บไซต์ หมายถึง หน้าเว็บเพลหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮปาร์กลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ
ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
อินเตอร์เน็ตกับการพัฒนาเว็บไซต์
ในปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น
ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้คนนิยมเข้าถึงข้อมูล และการใช้บริการต่างๆในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เพิ่มมากขึ้น และทำให้เกิดการนำเสนอข้อมูล และบริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้นในการพัฒนาเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อใช้ในการนำเสนอข้อมูลและบริการ จึงต้องมีมาตรฐานในการพัฒนา เพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นเป็นไปได้โดยง่าย และสามารถเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมาตรฐานในการพัฒนาเว็บไซต์ ควรจะประกอบไปด้วยมาตรฐานที่เป็นพื้นฐานดังต่อไปนี้
1.เป็นเว็บไซต์ที่สามารถแสดงผลได้กับทุก Web Browser ในปัจจุบัน web browser ได้รับการพัฒนาออกมา
อย่างหลากหลาย ผู้ใช้งานย่อมีสิทธิในการเลือกใช้งานได้อย่างอิสระ เพราฉะนั้นผู้พัฒนาเว็บไซต์จึงต้องคำนึงถึงเรื่องการแสดงผลในทุก web browser ด้วย เพื่อให้การแสดงผลในแต่ละ web browser นั้นมีการแสดงผลที่เหมือน หรือใกล้เคียงกันมากที่สุด
2. เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility) ซึ่งมีข้อกำหนดของ W3C ที่เรียกว่า
WCAG (Web Content Accessibility Guidelines = คำแนะนำในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ทุกคนเข้าถึง) เพื่อทำให้การพัฒนาเว็บไซต์สามารถรองรับการใช้งานของทุกกลุ่มคนที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั้งกลุ่มของคนปกติ
และกลุ่มคนพิการ ซึ่งยังต้องการหาข้อมูล และความรู้เหมือนคนปกติ
3. เป็นเว็บไซต์ที่มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดของ W3C ในเรื่องของการใช้ XHTML โดยที่
XHTML เป็น ภาษามาร์คอัพ ที่มีความคล้ายคลึงกับภาษา HTML แต่จะมีความเข้มงวดในเรื่องโครงสร้างภาษา
(syntax) มากกว่าการตรวจสอบว่าเว็บไซต์มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดของ W3C ในเรื่องของการใช้ XHTML
4. เป็นเว็บไซต์ที่มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดของ W3C ในเรื่องของการใช้งาน CSS โดยที่ CSS (Cascading Style Sheet) นั้นจะเป็นตัวที่ช่วยให้การควบคุมการแสดงผลของเว็บไซต์นั้นเป็นไปอย่างอิสระ โดยการแยกส่วนของการแสดงผลออกจากส่วนของเนื้อที่ ทำให้การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดงผลนั้น
สามารถทำได้ง่ายขึ้น การตรวจสอบว่าเว็บไซต์มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดของ W3C ในเรื่องของการใช้ CSS
5. เป็นเว็บไซต์ที่สามารถดูได้จากอุปกรณ์ที่หลากหลาย ในปัจจุบันอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแต่คอมพิวเตอร์เท่านั้น PDA และโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ ก็จะสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ เพราะฉะนั้นในการสร้างเว็บไซต์เราจึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงการแสดงผลบนอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย
องค์ประกอบของเว็บไซต์
1. Domain Name : ชื่อและที่อยู่ของเว็บไซต์ในการเรียกข้อมูลเว็บไซต์ของท่านมาแสดงผล
เช่น www.yourcompany.com เป็นต้น ปัจจุบันมักจดชื่อ domain name ให้เป็นชื่อที่สื่อถึงสินค้าหรือ
บริการหรือเป็นชื่อองค์กร และอาศัยการทำประชาสัมพันธ์ผ่าน Search Engine และ Web Directory การเลือกใช้ชื่อเว็บไซต์ที่เหมาะสมก็มีส่วนในการทำให้เว็บไซต์ของคุณประสบความสำเร็จเช่นกัน
2. Design & Development : การออกแบบและจัดทำเว็บไซต์ โดยทั่วไปแล้วสำหรับเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์องค์กร การออกแบบเว็บไซต์ เป็นเพียงส่วนที่ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลขององค์กร หรือบริษัทให้แก่ผู้เยี่ยมชมได้อย่างสะดวก และด้วยการออกแบบที่ดีที่จะสื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ขององค์กร หรือบริษัทจะนำมาซึ่งความน่า
เชื่อถือให้เกิดแก่ผู้เข้าเยี่ยมชมได้ หากแต่มักมีคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์ ว่าเว็บไซต์ที่ม
ีการออกแบบดีมีความสวยงาม และมีการนำเสนอที่น่าสนใจจะสามารถดึงดูด และเพิ่มปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมได้ ในความเป็นจริงแล้ว การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มปริมาณของผู้เข้าเยี่ยมชมนั้น เป็นหน้าที่หลักของการทำประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ ไม่ใช่จากการออกแบบและจัดทำเว็บไซต์
3. Content : เนื้อหาของเว็บไซต์ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในองค์ประกอบของเว็บไซต์ เพราะคือสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมค้นหา โดยปกติแล้วเราสามารถใส่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสินค้า หรือบริการขององค์กรของเราได้โดยละเอียด อีกทั้งจำต้องนำเสนออย่างชัดเจนอีกด้วย เช่น รูปภาพของสินค้า หรือสถานที่บริการ เป็นต้น จึงจะทำให้ผู้เข้าเยี่ยมชมได้ประโยชน์จากการเข้าชมเว็บไซต์อย่างแท้จริง อันจำนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจในอนาคตได้
4. Hosting : พื้นที่จัดวางและติดตั้งเว็บไซต์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากไม่น้อยกว่าเนื้อหาของเว็บไซต์ (Content) เพราะการเลือกผู้ให้บริการโฮสติ้งที่ดี มีการซัพพอร์ตลูกค้าที่ดีและรวดเร็ว เซิร์ฟเวอร์มีความเสถียรภาพสูง สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเซิร์ฟเวอร์ได้ตลอดเวลา คือหัวใจสำคัญในการเลือกผู้ให้บริการด้านนี้ นอกจากความพร้อมในการออกแบบและจัดทำเว็บไซต์แล้ว ผู้ให้บริการเว็บไซต์ต้องมีความพร้อมอย่างยิ่งในการให้บริการโฮสติ้งแก่ลูกค้าเป็นอย่างดีอีกด้วย ซึ่งทำให้เว็บไซต์และอีเมล์ของลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา อันส่งผลให้ธุรกิจของลูกค้ามีความต่อเนื่องในการทำงานอยู่เสมอ
5. Promotion : การทำประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่ง เมื่อเราได้จัดทำเว็บไซต์เสร็จแล้ว จะต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โดยอาศัยวิธีการต่างผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต เช่น Search Engine Submission, Registration Web Directory, Mailing List, Banner Link Exchange เหล่านี้เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ อาจใช้ชื่อ domain name ในการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ผ่านสื่ออื่น ๆ เช่น ในนามบัตร, ใบปลิวหรือ โบรชัวร์ของบริษัท เป็นต้น
โปรแกรมพัฒนาเว็บไซต์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
1. Coffee Cup Free HTML Editor
2. Notepad++
3. PageBreeze
4. Firebug
5. Bluefish Editor
6. Brackets
7. KompoZer
8. OpenBEXI
9. GIMP
10. BlueGriffon
|