1.4    ใบเลื่อยเครื่อง  (Saw Blade)
   ใบเลื่อยเป็นอุปกรณ์ของเครื่องเลื่อยที่มีความสำคัญมาก  ทำหน้าที่ตัดเฉือนชิ้นงาน  ใบเลื่อยเครื่องทำจากเหล็กรอบสูงมีความเข็ง แต่เปราะ  ดังนั้นการประกอบใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อย  จะต้องประกอบให้ถูกวิธีและขันสกรูให้ใบเลื่อยตึงพอประมาณเพื่อป้องกันไม่ให้
ใบเลื่อยหัก  ส่วนต่าง ๆ ของใบเลื่อยประกอบด้วยความกว้าง ความยาว  ความหนา  ความโตของรูใบเลื่อย และจำนวนฟันใบเลื่อย
ซึ่งมีทั้งฟันหยาบและฟันละเอียด  จำนวนฟันใยเลื่อยบอกเป็นจำนวนฟันต่อนิ้ว  เช่น  10  ฟังต่อนิ้ว  14 ฟันต่อนิ้ว แต่ที่นิยมใช้งานทั่ว ๆ
ไป คือ 10 ฟันต่อนิ้ว
ลักษณะของใบเลื่อย
         - ความยาวของใบเลื่อย   การวัดความยาวของใบเลื่อยจะวัดจากจุดศูนย์กลางของรูยึดใบเลื่อยทั้งสองเรียกว่าขนาด 
        - ความยาวของใบเลื่อยจะมีขนาด  200  ม.ม.  และขนาด  300 ม.ม.
        -  ความกว้างของใบเลื่อย  กว้าง  12.7  ม.ม.  หรือ  1/2  นิ้ว
        - ความหนาของใบเลื่อย  หนา  0.64  ม.ม.  หรือ  0.025  นิ้ว
        - การวัดจำนวนฟันของใบเลื่อย  คือ  วัดระยะห่างของยอดฟันหนึ่งถึงยอดฟันหนึ่ง
        - ในระบบเมตริก  เรียกว่าระยะพิต  Pitch  (P)
       - ในระบบอังกฤษ จะวัดขนาดความถี่ห่างของฟันเลื่อยนิยมบอกเป็นจำนวนฟันต่อความยาว 1 นิ้ว
1.5   มุมฟันเลื่อย 
   ฟันเลื่อยแต่ละฟันมีลักษณะคล้ายกับลิ่ม  ทำหน้าที่จิกเข้าไปในเนื้อวัสดุ  ฟันแต่ละฟันประกอบด้วยมุมที่สำคัญ  3  มุม  ได้แก่
                          -          มุมคมตัด  (b)  เป็นมุมคมตัดของฟันเลื่อย
                          -          มุมคายเศษ  (g)  เป็นมุมที่ใช้ดันเศษโลหะออกจากฟันเลื่อย
                          -          มุมหลบ  (a)  เป็นมุมที่ทำให้ลดการเสียดสีระหว่างฟันเลื่อยกับชิ้นงาน  และช่วยให้เกิดมุมคมตัด
1.6 คลองเลื่อย  (Free  Cutting  Action) 
                     คลองเลื่อย คือ  ความกว้างของร่องบนวัสดุงาน  หลังจากที่มีการตัดเฉือน  ปกติคลองเลื่อยจะมีขนาดความหนา
มากกว่าใบเลื่อย  ทั้งนี้  ถ้าไม่มีคลองเลื่อย  ขณะทำการเลื่อยใบเลื่อยก็จะติด  ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ใบเลื่อยหัก