|
|
1.7 ทิศทางการตัดเฉือน
การทำงานของคมเลื่อยประกอบด้วยทิศทางที่สำคัญ 2 ทิศ ได้แก่ ทิศทางการกดลงและทิศทางการดันไป ดูตามลูกศร ทิศทางทั้ง 2 เป็นตัวทำให้เกิดการตัดเฉือนขึ้น แรงที่กระทำการกดและการดันจะต้องสัมพันธ์กัน ถ้าแรงใดมากเกินไปหรือฝืนอาจจะทำให้ใบเลื่อยหักได้
1.8 การประกอบใบเลื่อยเข้าโครงเลื่อย
การประกอบใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อยต้องระวังทิศทางของฟันเลื่อย จะต้องใส่ให้ถูกทิศทางเนื่องจากจังหวะถอยกลับของโครงเลื่อย จะเป็นจังหวะที่ทำการตัดเฉือนเพื่อตัดเฉือนชิ้นงานการประกอบใบเลื่อยต้องผ่อนตัวดึงใบเลื่อยให้ยื่นออกแล้วใส่ใบเลื่อยเข้าไปให้รูของ ใบเลื่อยตรงกับสลักร้อยทั้ง 2 ข้าง ของโครงเลื่อย จากนั้นปรับตัวดึงใบเลื่อยให้พอตึง ๆ แล้วปรับขยับใบเลื่อยให้ตั้งฉากโดยการใช้ค้อนเคาะเบา ๆ ให้ใบเลื่อยแนบสนิทกับตัวดึงใบเลื่อย จึงขันให้ตึงอีกครั้งด้วยแรงมือ
1.9 การจับยึดชิ้นงานสำหรับงานเลื่อย
การจับงานที่ผิดวิธีในกรณีชิ้นงานสั้น ปากของปากกาไม่สามารถจะจับชิ้นงานให้แน่นได้ แรงกดของเกลียวจะดันชิ้นงานหลุด ถ้าฝืนเลื่อย ใบเลื่อยจะหัก การจับงานที่ถูกวิธี ปากของปากกาจะต้องกดขนานกันทั้ง 2 ปาก การจับชิ้นงานสั้น ใช้เหล็กหนุนช่วยในการจับดันปาก ของปากกาให้ขนาน กดชิ้นงานแน่นเมื่อขันเกลียวจะทำให้ชิ้นงานไม่หลุด
2. เครื่องเลื่อยสายพานแนวนอน (Horizontal Band Saw)
เป็นเครื่องเลื่อยที่มีใบเลื่อยยาวติดต่อกันเป็นวงกลม การเคลื่อนที่ของใบเลื่อย มีลักษณะการส่งกำลังด้วยสายพาน คือมีล้อขับและล้อตาม ทำให้คมตัดของใบเลื่อยสามารถเลื่อยตัดงานได้ตลอด เนื่องตลอดทั้งใบการป้อนตัดงานใช้ระบบไฮดรอลิกส์ ควบคุมความตึงของใบเลื่อย ปรับด้วยมือหมุน หรือใช้ไฮดรอลิกปรับระยะห่างของล้อ มีโครงสร้างแข็งแรงตัวเครื่องสามารถ ติดตั้งได้กับพื้นโรงงาน
3. เครื่องเลื่อยสายพานแนวตั้ง (Vertical Band Saw)
เครื่องเลื่อยสายพานแนวตั้ง เป็นเครื่องเลื่อยที่มีใบเลื่อยเป็นแบบสายพานในแนวตั้ง ซึ่งจะหมุนตัดชิ้นงานอย่างต่อเนื่อง ใช้ตัดงานเบาได้ทุกลักษณะ เช่น ตัดเหล็กแบน หรือเหล็กบางให้ขาด หรือตัดเป็นรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งเครื่องเลื่อยชนิดอื่น ๆ ไม่สามารถทำได้
4. เครื่องเลื่อยวงเดือน (Circular Saw or Radius Saw)
เครื่องเลื่อยวงเดือน เป็นเครื่องเลื่อยที่ใบเลื่อยเป็นวงกลม มีฟันรอบ ๆ วง สามารถตัดชิ้นงานได้อย่างต่อเนื่องมักเป็นชิ้น งานบาง ๆ เช่น อะลูมิเนียม สามารถตัดงานได้ทั้งลักษณะตรงและเอียงเป็นมุม
- ความปลอดภัยในการใช้เลื่อยวงเดือน
- เลื่อยวงเดือนเกิดอันตรายได้ง่ายมาก ให้ใส่ฝาครอบใบเลื่อยเสมอ
- อย่าใจร้อน ออกแรงควบคุมตัดเกินพิกัด
- ให้ระวังก่อนชิ้นงานขาด ใช้แรงควบคุมตัดเพียงเล็กน้อย เพราะขาดง่าย
- ให้หมั่นตรวจการแต่กร้าวของใบเลื่อย หรือการยึดติดคมเลื่อย
ตัวอย่างการทำงานเลื่อยกล https://www.youtube.com/watch?v=MFYGc0fJ0Eg
|
|
|
|