หน่วยการเรียนรู้ที่1
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
อ้างอิง: https://youtu.be/5HpojfuPLG4
ลักษณะทางพันธุกรรม
เมื่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ผสมพันธุ์ เช่น สุนัข แมว ปลา พบว่า ลูกของแต่ล่ะตัวในครอกเดียวกันจะมีลักษณะแตกต่างกัน ลูกบางตัวมีลักษณะบางอย่างเหมือนพ่อ บางอย่างเหมือนแม่ และบางอย่างที่ปรากฏโดยไม่พบในพ่อและแม่ แต่อาจเหมือนรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย เพราะการถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆของสิ่งมีชีวิตของคนก็เช่นเดียวกันคือ คนในครอบครัวจะมีลักษณะเหือนกันมากกว่าคนต่างครอบครัว แต่ก็ยังมีลักษณะแตกต่างกันบ้างยกเว้นพี่น้องฝาแฝดร่วมไข่ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนกันเกือบทุกประการ
โครโมโซมและสารพันธุกรรม
โครโมโซม
ภายในนิวเคลียสของเซลล์มีสารพันธุกรรม เรียกว่า ดีเอ็นเอ (DNA) DNA และโปรตีนหลายชนิดประกอบเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นสายยาว เรียกว่า โครมาทิน (chromatin) ระหว่างการแบ่งเซลล์โครมาทินจะขดตัวจนมีลักษณะเป็นท่อนๆ เรียกว่า โครโมโซม (chromosome) แต่ละโครโมโซมจะประกอบด้วยโครมาทิด (chromatid) 2 เส้นยึดติดกันที่ตำแหน่งเซนโทรเมียร์ (centromere)
มนุษย์มีจำนวนโครโมโซม 23 คู่ (2n 46) โดยเป็นโครโมโซมที่มีจีนควบคุมลักษณะต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเพศ เรียกว่า ออโตโซม (autosome) 22 คู่ โครโมโซม อีก 1 คู่ทำหน้าที่กำหนดลักษณะเพศ เรียกว่า โครโมโซมเพศ (sex chromosome) ใช้สัญลักษณ์เป็นโครโมโซม X และ Y โดยในเพศหญิงจะมีออโตโซม 22 คู่ และโครโมโซมเพศ 1 คู่ เป็น 44,XX ส่วนเพศชายจะมีออโตโซม 22 คู่เหมือนเพศหญิง และมีโครโมโซมเพศ 1 คู่เป็น 44,XY
สารพันธุกรรม
จากการวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าโครมาทินประกอบด้วย (DNA) และโปรตีนเกาะกันอยู่ค่อนข้างแน่น และมีลักษณะคล้ายลูกปัด โดยมีโมเลกุลดีเอ็นเอเป็นสายเชื่อมอยู่ระหว่างลูกปัดส่วนเม็ดลูกปัดประกอบด้วยสายดีเอ็นเอพันอยู่รอบโปรตีน ดีเอ็นเอหรือจีน (gene) ทำหน้าที่เป็นสารพันธุกรรม ส่วนโปรตีนที่เกาะอยู่กับดีเอ็นเอช่วยให้ในการขดตัวพันอยู่ของดีเอ็นเอทำให้เส้นโครมาทินหนาขึ้นและสั้นลงขณะเซลล์ทำการแบ่งเซลล์ จึงทำให้โครโมโซมมีลักษณะเป็นแท่งในเซลล์ที่กำลังแบ่งเซลล์
การแบ่งเซลล์
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์ และเซลล์ทุกชนิดเกิดจากเซลล์ที่มีอยู่เดิมโดยกระบวนการแบ่งเซลล์ (cell division) การแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอตประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ การแบ่งนิวเคลียสและการแบ่งไซโทพลาซึม (cytokinesis) และการแบ่งนิวเคลียสแบ่งได้ 2 แบบคือ การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส(mitosis) และการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส (meiosis) การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสเป็นวิธีแบ่งนิวเคลียสที่ทำให้จำนวนโครโมโซมคงที่
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเป็นการแบ่งเซลล์ของร่างกาย (somatic cell) เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ในขณะที่มีการเจริญเติบโตในร่างกายของคนและสัตว์ เซลล์บางชนิดมีการแบ่งเซลล์ตลอดเวลาเพื่อทดแทนเซลล์ที่ตายไป เช่น เซลล์ไขกระดูก และเซลล์ผิวหนัง
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในสัตว์และสร้างสปอร์ในพืช เซลล์ร่างกายคนมีไมโครโซม 46 โครโมโซม หรือ 23 คู่ ในฮอมอโลกัสโครโมโซมที่มีจีนที่ควบคุมลักษณะเดียวกันอยู่ในตำแหน่งตรงกัน
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
ัการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เกิดจากการรวมตัวระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่ โดยในขณะที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์แบบไมโอซิสเกิดการเปลี่ยนแปลงส่วนของจีนระหว่างโครมาทิดและฮอร์มอโลกัสโครโมโซม ส่งผลให้มีการจับกลุ่มของจีนใหม่ ทำให้ได้เซลล์สืบพันธุ์ใหม่ที่มีจีนแตกต่างกัน เมื่อมีการปฏิสนธิระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ สิ่งมีชีวิตรุ่นลูกจึงมีพันธุกรรมที่หลากหลายแตกต่างกัน
|