ภาพที่ 24 สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair: UTP)
ที่มาของภาพ: https://sites.google.com/site/saisunee321hotmailcom/sux-thi-chi-ni-kar-suxsar-khxmul
ภาพที่ 25 สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair: STP)
ที่มาของภาพ: https://i.stack.imgur.com/Bdby5.png
2. สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณที่มีสายทองแดงเดี่ยวเป็นแกนกลางหุ้มด้วยฉนวนเพื่อป้องกันไฟรั่ว จาก นั้นหุ้มด้วยลวดทองแดงถักเป็นร่างแหล้อมรอบเป็นตัวกั้นสัญญาณรบกวนอยู่ด้านนอก และหุ้มชั้นนอกด้วยฉนวนพลาสติก ลักษณะเป็นสายกลมและใช้สำหรับสัญญาณความถี่สูง ราคาแพงกว่าและติดตั้งง่ายกว่าสายคู่บิดเกลียว ทนทาน สามารถเดินสายฝังใต้พื้นดินได้ นิยมใช้เป็นสายสัญญาณจากเสาอากาศโทรทัศน์ สายเคเบิลทีวี สายโทรศัพท์ทางไกล สายส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายท้องถิ่น หรือใช้ในการเชื่อมโยง สั้น ๆ ระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
ภาพที่ 26 สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable)
ที่มาของภาพ: http://www.geocities.ws/janyjimmy/p2.html
3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ทำจากแก้วหรือพลาสติกที่มีความบริสุทธิ์สูง แกนกลางของสายประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือเส้นพลาสตกขนาดเล็กภายในกลวงหลาย ๆ เส้นอยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กประมาณเส้นผมของมนุษย์ เส้นใยแต่ละเส้นห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่น ๆ ซึ่งจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านกลวงของเส้นใยแต่ละเส้น และอาศัยหลักการหักเหของแสง โดยใช้เส้นใยชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพ กราฟิก เสียง หรือวีดิทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน แต่ยังมีข้อเสียเนื่องจากการบิดงอของสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามารถใช้สื่อกลางนี้เดินทางตามมุมตึกได้ สายใยแก้วนำแสง มีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคารหรือระหว่างเมืองกับเมือง
ภาพที่ 27 สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)
ที่มาของภาพ: http://www.comsiam.com/what-is-fiber-optic/
เทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลแบบไร้สาย
เทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลแบบไร้สาย อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อกลางในการนำสัญญาณ ซึ่งสามารถแบ่งตามช่วงความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ 4 ชนิด ดังนี้
1. อินฟราเรด (Infrared) เป็นลักษณะของคลื่นที่ใช้ในการส่งข้อมูลระยะใกล้ ๆ ในช่วงความถี่ที่แคบมาก ใช้ช่องทางสื่อสารน้อย มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งกับตัวรับสัญญาณ โดยต้องใช้วิธีการสื่อสารตามแนวเส้นตรง ระยะทางไม่เกิน
1-2 เมตร ความเร็วประมาณ 4-16 เมกกะบิตต่อนาที เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังโทรทัศน์ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สองเครื่องโดยผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ เป็นต้น
ภาพที่ 28 อินฟราเรด (Infrared)
ที่มาของภาพ:
https://ggamable.files.wordpress.com/2013/09/4image16.jpeg
2. คลื่นวิทยุ (Radio Wave) ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยมีตัวกระจายสัญญาณส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่าง ๆ กัน มีความเร็วต่ำประมาณ 2 เมกกะบิตต่อนาที เช่น การสื่อสารในระบบวิทยุเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM) เอเอ็ม (Amplitude Modulation : AM) การสื่อสารโดยใช้ระบบไร้สาย (WiFi) และบลูทูธ (Bluetooth)
ภาพที่ 29 คลื่นวิทยุ (Radio Wave)
ที่มาของภาพ: http://intimenetwork.blogspot.com/2016/05/broadcast-radio.html
3. ไมโครเวฟ (Microwave) จะใช้การส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ-ส่งข้อมูลเป็นระยะ ๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอด ๆ ระหว่างสถานีต่อสถานี จนกว่าจะถึงสถานีปลายทางและแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้าของตึกสูง ยอดเขา เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณเหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร
ภาพที่ 30 ไมโครเวฟ (Microwave)
ที่มาของภาพ: http://intimenetwork.blogspot.com/2016/05/microwave.html
4. ดาวเทียม (Satellite) เป็น สถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนดาดฟ้า ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลียงข้อจำกัดของสถานีรับ-ส่งไมโครเวฟบนผิวโลก เพื่อใช้เป็นสถานีรับ-ส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ และทวนสัญญาณในแนวโคจรของโลก ซึ่งจะต้องมีสถานีภาคพื้นดิน ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,600 ไมล์ โดยดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่งกับที่ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียมและการกระจายสัญญาณ จากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่าง ๆ บนผิวโลกเป็นไปอย่างแม่นยำ
ภาพที่ 31
ดาวเทียม (Satellite)
ที่มาของภาพ: http://intimenetwork.blogspot.com/2016/05/microwave.html