บทที่ 6
เรื่อง ความสำคัญของโลจิสติกส์และโซ่อุปทานต่อเศษฐกิจ

1.ความสำคัญของระบบโลจิสติกส์ในยุคโลกาภิวัตต์
        ปัจจุบันแนวโน้มการแข่งขันที่เข้มแข็งขึ้นอันเนื่องมาจากกระแสโลการภิวัฒน์ ที่มีการเปิดเสรีทางการค้ามากขึ้นผลักดันในภาคธุรกิจต้องยกระดับความสามารถในการดำเนิน
ธุรกิจในทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ ธุรกิจในปัจจุบันจึงต้องแข่งขันกันด้วยความเร็ว (Speed Economy)
ดังนั้นการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการต้องคำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบโลจิสติกจึงเป็นทางออกของแต่ละประเทศในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งชัน ทั้งในแง่ของการลดดันทุน
การสร้างมูลค่าเพิ่ม การประหยัดพลังงาน และอนุรักษ์สิ่งแวดส้อมอีกด้วย ดังนั้นการจัดการกระบวนการ นำส่งสินค้าจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคตลอด ชัพพลายเชนในกระบวนการโลจิสติกส์ จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่ผู้ประกอบการสามารถใช้เป็นแห่งที่มาของความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งในระดับธุรกิจและระดับประเทศ โดยธนาคารโลกประมาณว่าในระดับธุรกิจนั้น พบว่า หากบริษัทสามารถลดต้นทุนการขนส่งลงได้ร้อยละ 1 แล้วสามารถทำให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5 และหากประเทศหนึ่งๆ สามารถลดต้นทุนการขนส่งลงได้ร้อยละ 10 แล้วจะสามารถเพิ่มการค้าทั้งภายในประเทศ และการส่งออกได้ถึงร้อยละ 20 ตามรายละเอียด

2.แนวโน้มการพัฒนาระบบโลจิสติกส์
          เศรษฐกิจการค้าที่มีการแข่งขันมากขั้นในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจเป็นวงกว้าง เนื่องจากผู้ประกอบการต่างพยายามปรับปรุงวิธีการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดต้นทุนให้ต่ำที่สุดขณะที่คุณภาพคงเดิม เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้า การจัดการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานจึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะสร้างสมรรถนะในการแข่งขัน ทั้งในระดับผู้ประกอบการและระดับประเทศ

2.1 การขยายตัวของกิจกรรมทางเศษฐกิจการค้า
เศษฐกิจโลกในยุคปัจจุบันแปรตามกระแสโลกาภิวัฒน์ และการค้าเสรีและริเริ่มและขยายตัวจากการ
สนับสนุนทำให้ข้อจำกัดและการกีดกันทางการค้าในรูปของภาษีลดลงการค้าและการลงทุนไม่ถูกจำกัด
เพียงแต่ตลาดภายในประเทศอีกต่อไปเป็นให้ปริมาณการค้าและบริการระหว่างประเทศมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

2.2 การจัดการแนวใหม่ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลกระทบต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจเป็นวงกว้าง

  • การว่าจ้างบุคคลภายนอกในการผลิต ช่วงปลายศตวรรษที่ผ่านมาภาคการผลิตนิยมซื้อมากกว่า
  • ผลิตขึ้นเอง ซึ่งเปลี่ยนจากการผลิตภายในบริษัท เป็นการจ้างผลิตจากภายนอก ที่ไม่จำเป็นต้องดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร
  • การว่าจ้างบุคคลภายนอกในการกระจายสินค้า เมื่อระบบเศษฐกิจและการจัดการเปลี่ยนแปลงไปสินค้าแต่ละประเภทและการจัดการของ
  • แต่ละองค์กรจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันและมีความต้องการบริการด้านโลจิสติกส์เป็นการเฉพาะ
  • เศษฐกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันที่มีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลง
  • ไปจากเดิที่การผลิตเน้นการผลิตสินค้าอย่างเดียวในปริมาณมาก ไปสู่การพัฒนาความ
    สามารถหลักเพื่อให้มีสินค้าและบริการในรูปแบบมุ่งเฉพาะ

    2.3 การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
    ในตำราเล่มนี้ขอเรียกว่า การจัดการซัพพลายเชน เนื่องจากรูปแบบการผลิตได้เปลี่ยนแปลงไปตามภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน การผลิต และการกระจายสินค้า จะใช้บริการจากภายนอกมากขึ้น เกิดเป็นกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจต่างๆ ขึ้นทำให้ความสัมพันธ์ทั้งภายใน หรือภายนอกองค์กรเปลี่ยนแปลงด้วย