บทที่ 1
เรื่อง บทนำเกี่ยวกับโลจิสติกส
1.ความหมายของการจัดการโลจิสติกส์
แนวคิดการจัดโลจิสติกส์เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 500 ปีก่อนพุทธการร โดยเริ่มใช้เป็นกลยุทธ์ในการรบและวงการทหาร ถือว่าการส่งบำรุงกำลัง ในวงการตำรวจไทยเรียกว่ากองพาลาธิการ ในหนังสือชื่อ “The Art of War (ตำราพิชัยสงคราม)” โดยอ้างว่า ซุนวู ได้กล่าวถึงการรบให้ชนะโดยนำกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ และความสัมพันธ์ระหว่างโลจิสติกส์กับการวางกลยุทธ์วิธีในการรบ นอกจากนั้นในหนังสือ หนังสือ “Alexander the Great” พระเจ้าอเล็กซานเดอรื เป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชอาณาจักรกรีก พระองค์ได้นำระบบโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ เพื่อสนับสนุนกำลังพลในการรบ โดยสร้างที่เก็บเสบียงอาหาร สำหรับทหารและสัตว์ที่ใช้ในกองทัพไว้ทุกๆ 30 กิโลเมตร จากตัวเมืองไปจนถึงแนวชายแดน เพื่อทหารจะได้ไม่ต้องแบกสัมภาระมากเกินไปและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดแคลนเสบียงอาหารระหว่างการเดินทาง นอกจากนั้น ยังมีพระเจ้านโปเลียนมหาราช จักรพรรดิฝรั่งเศส พระองค์ ทรงใช้โลจิสติกส์ เพื่อการวางแผนเกี่ยวกับการขนส่งกำลังเสบียงอาหาร จนทำให้กองทัพของพระองค์สามารถเคลื่อนทัพได้รวดเร็วกว่าศัตรู และชนะข้าศึกในที่สุด
พระมหากษัตริย์ไทยที่เป็นจอมทัพล้วนเป็นนักโลจิสติกส์ที่ดีเยี่ยม เช่น พระเจ้าตากสินมหาราชสามารถตีวงล้อมออกโดยเลือกวิธีขนส่งทางน้ำ โดยใช้ฤดูน้ำหลากโดยใช้การเดินทางน้ำ เพราะไม่ต้องเสียพลังงานในการเดินทางมาก นอกจากนั้นท่านยังใช้หลักการพยากรณ์อุปสงค์มาใช้ในการพยากรณ์จำนวนข้าศึกที่เมืองจันทบูร เดิมท่านมีไพร่พลประมาณ 1,000 คน แต่เมืองจันทบูรมีไพร่พลมากกว่า 3,000 คน ท่านเห็นว่าทรัพยากร หรือไพร่พลไม่สมดุล (อุปสงค์กับอุปทาน) ท่านจึงสั่งให้ทุบสัมภาระหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ ให้ทำหน้าที่หลักคือ รบ ไม่ต้องขนวัสดุ อาวุธมากเกินไป ลดความเหนื่อยล้า ทำให้จัดสรรกองทัพได้พอดีและชนะในการรบในครั้งนั้นท่านยังใช้ศาสตร์ในการเลือกที่ตั้งเมืองใหม่โดยอาศัยหลักการมั่นใจ (Grant) ที่ไม่กลับไปทำนุบำรุงกรุงศรีอยุธยาใหม่เพราะสถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจ พม่ายังรุกราน ต้องใช้ไพร่พลให้ถูกกับงานในช่วงเวลา คือ ที่กรุงธนบุรี เพราะมีป้อมปราการเดิมไม่ต้องสร้างใหม่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ อีกทั้งทางออกสู่ทะเลสะดวกต่อการลำเลียงเสบียง การรวมกองพล และอาวุธยุทธอุปกรณ์ต่างๆ
โลจิสติกส์ (Logistics) เป็นคำที่มาจากภาษากรีกแปลว่า “ศิลปะในการคำนวณ” ในสมัยโบราณรวมทั้งในสมัยปัจจุบัน มีการกล่าวถึง การส่งกำลังบำรุงทางทหาร และการประสบชัยชนะ หรือความพ่ายแพ้ในสงครามโดยอาศัยความเข้มแข็ง หรือความอ่อนแอของสมรรถนะในเชิงโลจิสติกส์
โลจิสติกส์ (Logistics) (นิยามทางทหาร) โดย JCs Pub 1-02 except และ NATO “ศาสตร์ในการวางแผนและจัดการการเคลื่อนย้าย และบำรุงรักษากองกำลังซึ่งการดำเนินงานประกอบไปด้วย การออกแบบ การพัฒนา การเก็บรักษา การเคลื่อนย้าย การกระจาย การบำรุงรักษา การขนถ่าย การดำเนินงานและการควบคุมสิ่งก่อสร้างต่างๆรวมถึงการให้บริการต่างๆ”
การจัดการโลจิสติกส์ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการซัพพลายเชน เพื่อช่วยในการวางแผนการสนับสนุน การควบคุมการไหลของวัตถุดิบและสินค้าให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล และเก็บรักษาสินค้าหรือบริการ และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
การจัดการโลจิสติกส์ เป็นการวางตำแหน่งทรัพย์ยากร โดยสัมพันธ์กับเวลา (The lnstitute of Logistics and Transport)
การจัดการโลจิสติกส์ หมายถึง การจัดการกระบวนการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บสินค้าวัตถุดิบจากจุดกำเนิดจนถึงผู้บริโภคสินค้าสุดท้าย
วัตถุประสงค์ ความสำคัญอันดับแรกของการจัดการระบบโลจิสติกส์ในระบบธุรกิจ คือ การสร้างประโยชน์จากเวลาและสถานที่ หรือการสร้างคุณค่าโดยการนำสินค้าจากต้นกำเนิดไปสู่สถานที่ที่มีความต้องการ หน้าที่นี้ก็คือ การนำสินค้าจากแหล่งที่ถูกต้องในรูปแบบ จังหวะเวลา คุณภาพ และปริมาณด้วยต้นทุนที่พอเหมาะไปสู่สถานที่ที่ถูกต้อง
พันธกิจของการจัดการโลจิสติกส์ คือ การวางแผน การดำเนินการ และประสานการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ที่บรรลุผลในด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการนำเสนอบริการและคุรภาพในระดับที่เหนือกว่า ด้วยต้นทุนการดำเนินงานที่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.พัฒนาการและความเป็นมาของโลจิสติกส์
เพื่อให้ทราบแนวคิดโลจิสติกส์ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จำเป็นต้องศึกษาพัฒนาการโลจิสติกส์ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันดังนี้
2.1 ช่วงเริ่มต้น ในพุทธศักราช 2493 – 2507 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงที่การเจริญเติบโตทางธุรกิจทำให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์เกิดชึ้นทันที
2.1 ช่วงเวลาของการเติบโตเต็มที่ ระยะเวลาจากปี 2508 – 2522 เป็นช่วงที่กระจายสินค้าเติบโตเต็มที่และมีความต้องการของลูกค้าเพิ่มสูงขึ้นมาก ธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกเริ่มประสบกับปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจที่แกว่งตัวตลอดเวลา ในขณะที่การดำเนินงานกระจายสินค้าเริ่มมีข้อเรียกร้องเพิ่มมากขึ้น
2.3 ช่วงซบเซาของเศรษฐกิจโลก ในปี 2523 ถึงปี 2533 โดยช่วงเริ่มต้นทศวรรษ หรือปี 2523 เป็นช่วงที่ผู้ทำงานด้านกระจายสินค้าและการจัดการวัสดุ ได้รับการยินยอมรับในระดับสูงสุด จากผู้บริหารระดับสูง และการถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่สุด ซึ้งเกิดขึ้นช่วงปี 2523 เพื่อเป็นการปรับตัวให้เข้ากับความไม่แน่นอนนี้ จำเป็นต้องจัดทำแผนงานสำรองฉุกเฉิน ความไม่แน่นอนที่สำคัญ ได้แก่
1. เงินทุน
2. พลังงาน
3. ภาวะเงินเฟ้อ
4. ผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของธุรกิจข้ามชาติ
2.4 ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปี 2533 ถึงปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารเป้นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนกระบวนการกระจายสินค้าและ โลจิสติกส์เสนอมา เป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งในการควบคุมกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้แล้วยังเป็นตัวกระตุ้นให้เริ่มการดำเนินงาน ด้วยเหตุผลเหล่านี้ สามารถพูดได้ว่าสารสนเทศ คือ การที่ยึดทุกสิ่งไว้ด้วยกัน เพื่อให้กิจกรรมสามารถดำเนินการไปอย่างราบรื่น
3. องค์ประกอบของโลจิสติกส์
การให้บริการโลจิสติกส์สำหรับผู้ให้บริการจากภายนอกในกรณีที่เกี่ยวกับการค้าต่างประเทศ มีความเกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายตั้งแต่ผู้ขายปัจจัยการผลิต (Suppliers) ผู้ซื้อ (Buyer) โดยมีกิจกรรมหลักในโลจิสติกส์ คือ การขนส่งทางบก (รถไฟ และรถยนต์) ทางเรือ และทางอากาศ ทั้งในประเทศ และระว่างประเทศ และผู้ให้บริการจัดเก็บสินค้า (Storage)
|