บทที่ 7
เรื่อง พัฒนาการและแนวโน้มการจัดการโลจิสติดส์

1.พัฒนาการรูปแบบของโลจิสติกส์ไทย
การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ มีระดับการพัฒนาที่นิยมใช้กันในประเทศต่างๆ สามารถสรุประดับการพัฒนาออกเป็น 4 ระดับ โดยมีลักษณะดังนี้
1.การกระจายสินค้า เป็นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการขนส่งสินค้าไปสู่ผู้บริโภค โดยอาจครอบคลุมกิจกรรม เช่น การขนส่ง การเก็บสินค้า การจัดการพัสดุ และการบรรจุ หีบห่อเพื่อป้องกันความสูญเสียระหว่างการขนส่ง อาจมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในแต่ละกิจกรรมและมีความเข้าใจการจัดการสินค้าเฉพาะส่วนเท่านั้น
พัฒนาการในระดับนี้ ยังไม่มุ่งเน้นการลดต้นทุน
2.โลจิสติกส์ที่ได้รับการบูรณาการภายใน เป็นการพัฒนาที่ผนวกรวมเอากิจกรรมโลจิสติกส์ ที่เกิดขึ้นก่อนขึ้นก่อนกระบวนการผลิต เช่น การจัดซื้อวัตถุดิบ และจุดมุ่งหมาย เปลี่ยนจากการลดสินค้าคงคลัง มาเป็นการเพิ่มความเร็วในกระบวนการทั้งหมด ณ ระดับการพัฒนานี้ มีการเชื่อมโยงการจัดการภายในบริษัทตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบจนจัดสั่งซื้อวัตถุดิบจนจัดส่งถึงผู้บริโภค
3.โลจิสติกส์ที่ได้รับการบูรณาการภายนอก เป็นการพัฒนาที่มีการเชื่อมโยงระหว่างบริษัทตลอดห่วงโซ่อุปทานในพัฒนาการขั้นนี้ บริษัทสามารถใช้ทุกรูปแบบการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากมีการเชื่อมต่อระหว่างวิธีการขนส่ง ที่ดี เช่น การมีจุดขนถ่ายที่มีมาตรฐานมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูล
          4.การจัดการโลจิสติกส์ระดับสากล เป็นความตื่นตัวจากบริษัทข้ามชาติผู้ซึ่งเผชิญกับปัญหากำไร
ลดลงในประเทศที่ตนตั้งอยู่ ดังนั้นจึงเริ่มหาแหล่งจัดซื้อที่ถูกกว่าในต่างประเทศแนวโน้มของการเป็นองค์กรระหว่าง
ประเทศนี้ต้องการจัดการระบบการเคลื่อนย้ายสินค้าที่ซับซ้อนมากขึ้นลักษณะของการพัฒนาการขั้นนี้คือ
การจัดซื้อวัตถุดิบและจัดส่งสินค้าครอบคลุมแหล่งวัตถุดิบทั่วโลก ด้านการขนส่ง การเชื่อมต่อระหว่างวิธีการขนส่ง
ระหว่างประเทศมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการท่าเรือ ขั้นตอนการขนส่งสินค้าชายแดน ให้ความสำคัญกับผลกระทบของการขนส่งระหว่างประเทศมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยด้านการขนส่ง

2.กรอบยุทศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์
ประเทศไทยควรอาศัยโอกาสและความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์นี้ กำหนดเป้าหมายการพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคอินโดจีน ซึ่งหมายถึง การเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ทั้งในส่วนผู้ประกอบการและผู้
ให้บริการของกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ในประเทศ และดึงดูดให้กิจกรรมการขรส่งสินค้า/บริการในภูมิศาสตรเข้ามา
ใช้ในประเทศไทยเป็นจุดเชื่อมโยงมากขึ้น