บทที่ 4
เรื่อง ความต้องการโลจิสติกส์ทางธุรกิจ
1.แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานซัพพลายเชน (Supply Chain Operations Reference Model)
ทางเลือกอีกทางหนึ่งในการมองกิจกรรมด้านโลจิสติกส์คือ
การใช้แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานซัพพลายเชน(SCOR) ซึ่งได้รับการพัฒนาและสนับสนุน
โดยสภาซัพพลายเชน(Supply Chain Council :SCC) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงกำไรเพื่อเป็นมาตรฐาน
ทั้งอุตสาหกรรม
สำหรับการจัดการซัพพลายเชนโดย SCOR ถูกจัดตั้งขึ้นจากกระบวนการจัดการที่แตกต่างกัน
5 กระบวนการ
2.ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ (Conficts of Interest)
เนื่องจากความเป็นจริงที่กิจกรรมโลจิสติกส์ ไม่สามารถทำงานเป็นแต่ละหน้าที่ได้
ต้องทำงานร่วมกันอาศัยซึ่งกันและกันจึงทำให้มีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งขึ้นได้ โดยธรรมเนียมปฏิบัติแล้วโครงสร้างองค์การถูกกำหนดตามลักษณะหน้าที่ของงาน
โดยปกติมีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์รวมขององค์กรคือ เรื่องการเงินในรูปแบบ
ของต้นทุน ตัวอย่างเช่น
-การจัดซื้อ มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาแหล่งจัดหาที่เชื่อถือได้ โดยมีต้นทุนต่ำด้วยการซื้อเป็นจำนวน
มากจากหลายแหล่ง
-การผลิต มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ต้นทุนที่ต่ำและการใช้งานเครื่องจักรสูงสุด โดยใช้การผลิตจำนวนมาก
และผลิตอย่างต่อเนื่อง
-การขนส่ง มีจุดมุ่งหมายที่การให้บริการต้องเชื่อถือได้ โดยมีต้นทุนต่ำด้วยการลดระยะทางระหว่าง
ลูกค้ากับโรงงานผลิตลง
-การคลังสินค้า มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ต้นทุนต่ำด้วยการรวมสต็อกสินค้าไว้ที่ส่วนกลาง เพื่อให้มีการ
ใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ในการขนย้ายมากที่สุด เมื่อตรวจสอบวัตถุประสงค์เหล่านี้โดยรอบคอบแล้วจะพบว่ามี
ความขัดแย้งระหว่างหน้าที่ มากทีเดียวถ้าขยายขอบเขตไปยังซัพพลายเชน
ซึ่งต่างองค์การจะเพิ่มความขัดแย้งมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องค้นหาวิธีแก้ปัญหาโดยรวมทั้ง
ในปัจจุบันและในอนาคต
3.การแลกเปลี่ยน (Trade-offs)
การแลกเปลี่ยน หรือทางเลือก เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเพื่อทำให้มีการปรับปรุงการ
ดำเนินงานของบริษัทด้านหนึ่งให้ดีขึ้น โดยอาจจะทำให้อีกด้านหนึ่งด้อยลง การแลกเปลี่ยนหรือ ทางเลือก
ด้านโลจิสติกส์โดยปกติทั่วไปเกี่ยวข้องกับต้นทุนและการบริการ
ระดับที่ 1: ระดับซัพพลายเชน (Supply Chain)
ระดับที่ 2: ระดับบริษัท (Company)
ระดับที่ 3: ระดับหน้าที่ของงาน (Functional)
ระดับที่ 4: ระดับกิจกรรม (Activity)
4.เหตุผลที่โลจิสติกส์ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
การจัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิผลต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่มีขอบเขตที่กว้างขึ้น
การตัดสินใจทางด้านโลจิสติกส์ อาจจะแยกประเภทออกได้เป็น 3 องค์ประกอบสำคัญ
โดยขึ้นอยู่กับขอบเขตของกิจกรรม ความต้องการในการลงทุน ขอบเขตเวลา
และความถี่ของการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ผลกระทบของการตัดสินใจในแต่ละระดับของ
ธุรกิจใดก็ตาม จะมีจุดที่สำคัญคือ เรื่องการเงินหรือต้นทุนการบริการ ส่วนอีกด้านหนึ่งที่มีความ
สำคัญในการพิจารณาคือ การบริการ ซึ่งทำให้มองเห็นอย่างชัดเจนว่าการตัดสินใจแบบใด จะส่งผลกระทบต่อคุณค่าการให้บริการลูกค้ามากที่สุดทั้งหมดการตัดสินใจเหล่านี้ประกอบด้วย
4.1 การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategy Decosion) เป็นการตัดสินใจในระดับสูงสุด
การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์โดยทั่วไปแล้วเกี่ยวข้องกับ
ความตกลงด้านเงินทุนที่มียอดสูงและการกำหนดทรัพยากรต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพให้องค์ประกอบ
ของการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่องและยาวนานการตัดสินใจด้านกลยุทธ์ส่งผลอย่างต่อเนื่อง
ต่อประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์และงบดุล
4.2 การตัดสินใจเชิงยุทธวิธี (Tactical Decision) โดยทั่วไปการตัดสินใจเชิงยุทธวิธีเกี่ยวกับการลงทุน
ที่อยู่ในระดับปานกลางและเกี่ยวข้องกับแผนดำเนินงานซึงกำหนดเป็นรายปีหรือฤดูกาลการตัดสินใจในระดับนี้
โดยปกติแล้วสามารถที่เปลี่ยนแปลงได้ ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าการที่เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในระดับนี้โดยปกต
ิแล้วสามารถที่เปลี่ยนแปลงได้ ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าการที่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจ
เชิงกลยุทธ์ การตัดสินใจในระดับนี้มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
4.3 การตัดสิใจเชิงปฏิบัติการ (Operational Decision) เป็นการตัดสินใจในระดับที่ต่ำที่สุดและสามารถเปลี่ยนแปลง
การตัดสินใจได้โดยมีต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำ เพื่อให้บรรลุความพึงพอใจของลูกค้า การเคลื่อนย้ายย้ายผลิตภัณฑ์
และการผลิตสินค้าเป็นผลจากการตัดสินใจในการดำเนินงานในหลายๆ จุดของโลจิสติกส์ โดยหัวไปการตัดรวมถึง
5. วัฎจักรการวางแผนงานโลจิสติกส์ (Logistiics Planning Cycle)
การตัดสินใจด้านโลจิสติกส์ทั้ง 4 ลักษณะ สามารถนำมาสร้างความสัมพันธ์กับวัฎจักรการวางแผนงานดังต่อไปนี้
6.ผลกระทบทางด้านการเงินของโลจิสติกส์
6.1วัตถุประสงค์ของธุรกิจ (Business obJective) ทุกธุรกิจ อุดสาหกรรม ต้องการให้กิจพงอยู่ได้เพื่อให้เกิดกำไ แกผู้ลงทุน
ผู้ถือหุ้น พนักงาน และผู้จัดการทุกคน กำไรต่อเงินทุนซึ่งเกิด คผลคุณระหว่างกำไรส่วนเกินและอัตราหมุนเวียนต่อเงินลงทุน
ซึ่งกำไรส่วนเกินมีค่าเท่ากับยอดขายต่อเงินลงทุนฉะนั้นการที่จะทำให้ธุรกิจสามารถดำรงอยู่ได้ต้องเพิ่มยอดขายและสร้ง
กำไรให้เหมาะสมกับเงินลงทุน
6.2 ผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัท (Corporate Financial Performance) ผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทวัด
ได้จากอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
|