บทที่ 2
เรื่อง กิจกรรมโลจิสติกส์
1. กิจกรรมโลจิสติกส์ (Logistics Actvities)
กิจกรรมโลจิสติกส์ในต่ละบริษัทมีการประยุกต์ใช้ในระดับที่แตกต่างกัน บางบริษัทให้ความสนใจในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลจิสติกส์ บางบริษัทก็ดำเนินการโดยครบถ้วนซึ่งมีหลายกิจกรรม
กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ สามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้
- การให้บริการลูกค้า
- การจัดการคำสั่งซื้อ
- การวางแผนเครือข่ายกระจายสินค้า
- การคืนสินค้าจากลูกค้า
- อะไหล่ชิ้นส่วน และการสนับสนุนการบริการ
- การขนส่งขาออกและการจราจร
- การควบคุมสินค้าคงคลัง
- คลังสิค้าและการจัดเก็บ
- การเคลื่อนย้ายสินค้า
- การขนส่งขาเข้า
- การกำจัดของเสีย
- บรรจุภัณฑ์
- การจัดซื้อ
- การวางแผน
- การพยากรณ์อุปสงค์
2. ประเภทของโลจิสติกส์ (Logistics Type)
ปัจจุบันโลจิสติกส์มีหลายกิจกรรม ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้แก่ การพยากรณ์อุปสงค์ การวางแผนการผลิต การจัดซื้อ การบรรจุภัณฑ์ การเคลื่อนย้ายสินค้า การผลิต การคลังสินค้า การขนส่ง การกระจายสินค้า การบริการลูกค้า เป็นต้น ทุกกิจกรรมในโลจิสติกส์ต้องทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นกระบวนการ โดยสสามารถวัดผลงานในกระบวนการขององค์การทั้งระบบหรือทั้งซัพพลายเชน มีการแบ่งขอบเขตของโลจิสติกส์
2.1 แบ่งตามลักษณะการให้บริการ ในการศึกษาแบ่งตามหลักการให้บริการของจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดในการไหลของวัสดุ หรือสินค้า หรือผู้โดยสาร ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. โลจิสติกส์เพื่อการผลิต
2. โลจิสติกส์เพื่อการกระจายสินค้า
3. โลจิสติกส์สำหรับผู้โดยสาร
2.2 แบ่งตามวัตถุประสงค์ นอกจากนั้นการแบ่งประเภทของโลจิสติกส์ จะพิจารณาจากวัตถุประสงค์ที่มีความสำคัญอันดับแรก โดยระบบโลจิสติกส์ในธุรกิจ คือ การสร้างประโยชน์จากเวลาและสถานที่ หรือการสร้างคุณค่าโดยการนำสินค้าจากจุดที่ผลิตไปยังจุดที่มีความต้องการของตลาด(อุปสงค์) เพื่อให้ส่งสินค้าได้อย่างถูกต้องทั้งรูปแบบ คุณภาพ ปริมาณ จังหวะเวลา ด้วยต้นทุนที่พอเหมาะไปสู่สถานที่ที่ถูกต้อง โดยมีพันธกิจของการจัดการโลจิสติกส์ คือ การวางแผน การดำเนินงาน และประสานการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งบรรลุผลในด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการนำเสนอบริการและคุณภาพในระดับที่เหนือกว่า ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ทำให้แบ่งประเภทโลจิสติกส์ ตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้
1. วิศวกรรมโลจิสติกส์
2. โลจิสติกส์การผลิต
3. โลจิสติกส์สำหรับผู้บริโภค
4. ผู้ให้บริการโลจิสติกส์จากภายนอก
-ผู้ให้การขนส่ง
-ผู้รับจองระวาง
-สมาคมเพื่อขนส่งทางเรือ
-บุคนที่ 3
5.โลจิสติกส์ในระดับสากล
3.ประเภทของโลจิสติกส์ของฮ่องกง (Homgkong Logistics Type)
สำนักวิเคราะห์โครงการลงทุนภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พัฒนาการของระบบโลจิสติกส์ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบโลจิสติกส์ในหลายประเทศ ผู้เขียนจึงขอยกเอาประเทศฮ่องกง ที่ในปี 2548 ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยภาครัฐทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุน และเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อน โดยมีลักษณะโครงสร้าง
-ด้านการขนส่ง
-ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
-ด้านความรู้
-ด้านปัจจัยพื้นฐาน
|