หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 การลงทะเบียนและอัปโหลดเว็บไซต์

หลักการจดโดเมนเนม

Domain Name คือ คำสามัญที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้ทดแทนตัวเลขบอกตำแหน่งที่ตั้งของ
เว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต ( IP Address ) เพื่อให้คนทั่วไปรู้จักและจดจำเว็บไซต์ได้
ง่ายขึ้น เนื่องจากตัวเลข IP Address นั้นจดจำได้ยากว่า   โดยองค์การกลางที่ควบ
คุมการจดทะเบียน Domain Name คือ Internet Corporation for Assigned Names and Numbers
( ICANN ) ของสหรัฐอเมริกา
ประเภทของ Domain Name
• Top Level Domain Name คือ Domain Name ที่สามารถจดได้ทั่วโลก   คุณสามารถเช็ค
รายชื่อที่ว่างอยู่ได้จากผู้ให้บริการ Hosting ทั่วไป   หรือเข้าไปตรวจสอบโดยตรงได้ที่ 
www.internic.net/regist.html
.  นามสกุลของ Domain Name จะแบ่งใช้ตามประเภทของ
องค์กร เช่น .mil จะใช้ได้เฉพาะกับหน่วยงานทางด้านการทหารของสหรัฐอเมริกา
เท่านั้น   หรือ .gov จะใช้ได้เฉาพะกับหน่วยงานทางด้านการปกครองของสหรัฐ
อเมริกาเท่านั้น เป็นต้น   นามสกุลของ Top Level Domain Name อื่นๆที่พบบ่อย ได้แก่
- .com ( Commercial )
-  .net ( Network )
-  .org ( Organization )
จะพบว่านามสกุลอื่นๆของ Top Level Domain Name นั้นจะมีการใช้แพร่หลายทั่วไป   
โดยไม่ได้แบ่งตามประเภทขององค์กรมากนักเนื่องจากคำนึงถึงความนิยมของ
ผู้ใช้งานเป็นหลัก
• Local Domain Name คือ Domain Name ที่จดตามสังกัดของแต่ละประเทศ   สำหรับ
ประเทศไทยนั้น ควบคุมโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและบริษัทที่ดูแล
การจดทะเบียน Domain Name ภายใต้ .th คือ THNIC ( http://www.thnic.co.th ) ซึ่งข้อ
กำหนดในการจดทะเบียนแบบแรก นั่นคือ จะต้องมีการจดให้ตรงตามประเภท
ขององค์กร พร้อมทั้งมีหลักฐานในการยืนยันการจดทะเบียนด้วยได้แก่
-  ac.th  หน่วยงานการศึกษา ( มาจากคำว่า Academic ) เงื่อนไขการขอจด
ทะเบียน คือ ต้องเป็นสถานศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัย
-  co.th  หน่วยงานการค้า ( Commerce ) เงื่อนไขการขอจดทะเบียน คือ ต้องเป็น
นิติบุคคล
-  in.th  บุคคลหรือองค์การทั่วไป ( Individuals ) เงื่อนไขการขอจดทะเบียน คือ
ต้องมีบัตรประชาชน
-  go.th  หน่วยงานรัฐบาล ( Government ) ไม่เปิดรับจดทะเบียน
-  mi.th  หน่วยงานทหาร ( Military ) ไม่เปิดรับจดทะเบียน
-  or.th  หน่วยงานไม่แสวงผลกำไร ( Non – Profit Organization ) ไม่เปิดรับ
จดทะเบียน
-  net.th  ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ( Internet Service Provider )

ข้อกำหนดในการตั้งชื่อ Domain Name
1. ชื่อ Domain จะต้องประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ ( ตัวพิมพ์ใหญ่ และ
ตัวพิมพ์เล็กถือเป็นตัวเดียวกัน ) หรือตัวเลข ( 0 – 9 ) เท่านั้น
                2. สามารถใช้ตัวอักษรได้สูงที่สุดไม่เกิน 67 ตัวอักษร
                3. อักขระพิเศษสามารถใช้ได้เพียงเครื่องหมาย ยติภังค์ เครื่องหมาย
ขีดสั้นๆที่ใช้เชื่อมคำผสมหรือขีดกลางนั่นเอง ( - ) นอกจากนี้แล้วไม่สามารถ
ใช้อักขระพิเศษอื่นๆได้
                4. ห้ามเว้นวรรคระหว่างชื่อ
                5. ระยะ เวลาในการจะทะเบียนเริ่มตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปและสามารถจด
ได้นานที่สุด 10 ปี และ สำหรับ Local Domain จะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมจากข้างต้น
อีก ดังนี้
                                5.1 แต่ละองค์การสามารถถือครองชื่อโดเมนได้เพียง 1 
ชื่อโดเมน ยกเว้น .in.th
                                5.2 แต่ละองค์กรสามารถถือครองชื่อโดเมน .in.th ได้ตาม
จำนวนชื่อโดเมนที่ต้องการ ( ทั้งนี้ชื่อโดเมนจำเป็นต้องสอดคล้องกับนโยบาย
ของ THNIC )
                                5.3 สำหรับ .co.th แต่ละองค์กรสามารถถือครองชื่อโดเมนภายใต้
.co.th มากกว่า 1 ชื่อโดเมน ก็ต่อเมื่อองค์กรจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้เครื่องหมายการค้า
หรือเครื่องหมายบริการ ( ทั้งนี้ชื่อโดเมนจำเป็นต้องเป็นชื่อเต็ม   หรือคำทับศัพท์
ของเครื่องหมายการค้า/บริการ )

หลักการคิดชื่อ Domain Name ที่ดี
                1. ชื่อโดเมนไม่ควรยาวเกินไป
                2. ชื่อจะต้องสามารถจดจำได้ง่าย   สะกดผิดยากโดยเฉพาะชื่อโดเมนที่เป็น
การเรียนแบบลักษณะคำอ่านของภาษาไทย   ควรระมัดระวังไม่ให้สะกดยากจนเกิน
ไปนักเนื่องจากคำไทยบางคำ เมื่อแปลงเป็นภาษาอังกฤษแล้วอาจทำให้เกิดการ
สับสนระหว่างการจดจำได้หากต้องการใช้จริงๆ ควรใช้เป็นคำสั้นๆง่ายๆ เช่น
 pantip.com , sanook.com , kapook.com เป็นต้น
                3. ต้องสื่อความหมายทางธุรกิจ   สอดคล้องกับสินค้าและบริการที่ทำ
การจดชื่อโดเมนนั้น   ไม่ควรใช้เพียงแต่ชื่อบริษัทในการจดทะเบียนเท่านั้น
แต่ควรให้มีคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการอยู่ด้วย เช่น หากทำเว็บไซต์
เกี่ยวกับเพลง ก็ควรมีคำว่า music หรือ lyrics ประกอบอยู่ด้วย เพื่อช่วยให้ผู้เข้าทราบ
ว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับอะไร   ซึ่งสื่อได้ชัดเจนกว่าการใช้เพียง
ชื่อบริษัทอย่างเดียว

Web Hosting คืออะไร
Web Hosting ( เว็บโฮสติ้ง ) เป็นบริการให้เช่าพื้นที่ในการนำเว็บไซต์มา
ฝาก เพื่อให้เว็บไซต์คุณสามารถออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตได้ โดยเป็นการให้
บริการแบบเบ็ดเสร็จ คือ ผู้ใช้บริการไม่ต้องยุ่งยากกับระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์
เพราะทางผู้ให้บริการ Web Hosting จะเตรียมการทุกอย่างไว้ให้เรียบร้อย แต่คุณ
ต้องทำการ จดโดเมน ก่อนแล้วจึงมาเช่า Web Hosting เพื่อเก็บเว็บไซต์
การเลือก Web Hosting ให้กับเว็บไซต์คุณ
Web Hosting ตั้งอยู่ในประเทศหรือต่างประเทศ
ให้คุณดูก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาที่เว็บของคุณคือใคร หากเป็น
ลูกค้าในประเทศ ก็ควรเลือก Web Hosting ที่ตั้งอยู่ในประเทศ เพราะเวลาลูกค้าคุณ
เข้ามาดูข้อมูลในเว็บไซต์คุณ ก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่า ไม่ต้องวิ่งไปหา
ข้อมูลที่ต่างประเทศ แต่หากลูกค้าคุณเป็นลูกค้าต่างประเทศ ก็ควรเลือก Web Hosting 
ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศ เพื่อการเข้าถึงของลูกค้าคุณจะได้รวดเร็วกว่าที่จะต้องเข้ามาดู
ข้อมูลที่เก็บไว้ที่ Web Hosting ในเมืองไทย
ขนาดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ต้องพอเพียงกับข้อมูลของ Web Site ที่จัดทำ
ปกติพื้นที่ขนาด 5 MB ก็เพียงพอต่อการนำเว็บไซต์ทางธุรกิจทั่วไป ที่มี่ภาพและ
ข้อมูล ยกเว้นแต่หากท่านจะมีข้อมูลเป็นจำนวนมากๆ เช่น ข้อมูลรูปภาพหรือไฟล์
เอกสารต่างๆ ที่จะเปิดให้ลูกค้าสามารถดาวน์โหลดได้หลายรายการ และแต่ละ
ไฟล์มีขนาดใหญ่ ท่านอาจจะต้องพื้นที่เพิ่ม และบางแห่งจะนำ พื้นที่ ๆ เก็บ E-mail
มานำไปคิดรวมกับพื้นที่ ๆ เก็บไฟล์ข้อมูลของเว็บไซต์คุณ ซึ่งอาจจะทำให้พื้นที่
ของเว็บไซต์ท่านไม่เพียงพอต่อการใช้งานได้ เพราะจะต้องใช้ร่วมกับ E-mail ซึ่ง
ต้องเช็คกับทางผู้ให้บริการ ก่อนตัดสินใจใช้ E-mail Box แยกออกจากพื้นที่เก็บไฟล์
ข้อมูลเว็บหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่หากรวมกัน ท่านอาจจะต้องการพื้นที่ Web Hosting 
อย่างน้อย 15 MB เป็นอย่างต่ำ
จะมีการใช้เว็บโปรแกรมมิ่งไหมในเว็บของคุณ?
ถ้าหากเว็บไซต์คุณมีการใช้เว็บโปรแกรมมิ่งในการทำเช่น เว็บบอร์ด,
โปรแกรมส่งเมล์หาสมาชิก (Mailing List), หรือ โปรแกรมการเก็บฐานข้อมูล (Database)
คุณควรจะเช็คกับทางผู้ให้บริการ Web Hosting ว่า Server ของเค้าเป็น OS อะไร ถ้าหาก
เป็น Windows ก็สามารถใช้กับ ภาษาในการเขียนโปรแกรมได้แก่ ASP, PHP, Perl ได้
แต่หากเป็น Linux ก็จะสามารถใช้ได้แค่ PHP, Perl เท่านั้น หรือบางท่านอาจจะต้อง
การใช้ระบบรักษาความปลอดภัย ก็อาจจะต้องใช้บริการ ระบบรักษาความ
ปลอดภัยของข้อมูลแบบ SSL (Secure Socket Layer) ซึ่งจะเหมาะกับเว็บไซต์ทีทำ
E-Commerce
ทดสอบคุณภาพการบริการทางอีเมล์
คุณอาจจะลองเมล์ไปสอบถามคำถามต่าง ๆ กับทาง Support แล้วลอง
ดูระยะเวลาการตอบกลับอีเมล์ปัญหาของคุณ ว่าใช้เวลามากน้อยแค่ไหน ถ้าการ
ตอบแต่ละครั้งใช้เวลานาน (ไม่ควรเกิน 1 วัน) แบบนี้ก็ไม่น่าที่จะเลือกใช้บริการ
ลองส่งเมล์ไปสอบถามซัก 4-5 ครั้ง หรือมากกว่านี้ก็ได้ เพื่อดูความรวดเร็วในการ
แก้ปัญหาให้ลูกค้า และ ความใส่ใจในการบริการ ของผู้ให้บริการ
ราคาไม่ใช่ตัวบอกถึงคุณภาพการบริการเสมอไป
Web Hosting ที่มีราคาแพง ไม่จำเป็นว่าจะมีประสิทธิภาพ และบริการที่ดีเสมอไป
ในการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจ Web Hosting คุณไม่จำเป็นต้องจ่ายแพงเพื่อซื้อ
บริการที่ดีกว่า คำว่า "ของดีราคาถูก" ยังมีอยู่ให้เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
ช่องทางการติดต่อกับผู้ให้บริการ
ควรจะมีหลาย ๆ ช่องทางในการที่จะติดต่อกับผู้ให้บริการได้ เผื่อใน
กรณีที่เกิดปัญหาจะได้ติดต่อได้อย่างรวดเร็ว ทั้งเบอร์โทรศัพท์พื้นฐาน,
โทรศัพท์มือถือ และทางอีเมล์ ผู้ให้บริการ Web Hosting บางรายแม้ว่าจะมีการให้
บริการที่ดี แต่ถ้าคุณสามารถติดต่อได้แค่ทางอีเมล์แล้ว นั่นก็หมายถึงว่าคุณจะ
ต้องรอรับการ บริการจากทางอีเมล์เท่านั้น
ระหว่าง Windows Hosting และ Linux Hosting จะเลือกใช้อย่างไร
Windows Hosting และ Linux Hosting คือ Operating System Platform เป็นรูปแบบ
ของระบบปฏิบัติการที่ตัว Web Hosting ใช้งาน จะมีอยู่ 2 ระบบปฏิบัติการใหญ่ๆ
ที่ใช้งานคือ Windows หรือ Linux ซึ่งถ้า Web Hosting ที่ใช้ Windows เป็นระบบปฏิบัติ
การนั่นก็หมายความว่า ภาษาที่ใช้งานก็จะเป็น ASP หรือ ASP.Net และ PHP ส่วน 
Web Hosting ที่ใช้ Linux เป็นระบบปฏิบัติการภาษาที่ใช้งานก็จะเป็น PHP ถ้าเว็บไซต์
ของท่านเขียนด้วย html อย่างเดียว สามารถเลือกใช้ได้ทั้ง 2 ระบบ แต่ขอแนะนำ
ให้ใช้เป็น Linux เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
Web Hosting ที่ดีจะต้องให้บริการทั้งเครื่องมืออำนวยความสะดวกและคำแนะนำ
แก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้สามารถดูแลและแก้ไข website ของตนเองได้ ผู้ให้บริการ 
Web Hosting จะคิดค่าบริการจากการเช่าพื้นที่ในการให้บริการซึ่ง พื้นที่ดังกล่าวใช้
สำหรับเก็บข้อมูล website ที่ต้องการนำเสนอ รวมทั้ง E-mail Database รายละเอียด
เกี่ยวกับสถิติผู้เข้าชม ฯลฯ

การอัพโหลดเว็บไซต์ขึ้นระบบอินเทอร์เน็ต
หลังจากที่ได้สมัครบริการ Domain Name และ Web Hosting รวมถึงการตรวจสอบการ
เชื่อมโยงต่าง ๆ ของเว็บไซต์แล้ว ขั้นสุดท้ายที่สำคัญคือการอัพโหลดเว็บไซต์ขึ้น
ระบบอินเทอร์เน็ต โปรแกรม Dreamweaver มีเครื่องมือสำหรับให้อัพโหลดและ
ดาวน์โหลดไฟล์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
การกำหนดข้อมูลเชื่อมต่อกับ Server
เมื่อจดทะเบียน Domain Name และ Web Hosting จากเว็บ hostinger.in.th แล้วจะได้ข้อมูล
การอัพโหลดไฟล์ FTP IP Username และ Password
https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858609/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E1.png


         นำรายละเอียดอัพโหลดไฟล์จากภาพมาใช้ในการกำหนดข้อมูลให้กับโปรแกรม 
Dreamweaver เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับ Server ได้ มีขั้นตอนดังนี้  
1.  คลิกเลือกเว็บไซต์ที่ต้องการอัพโหลด แล้วดับเบิลคลิกเว็บไซต์
2.  คลิกเลือก Server
3.  คลิกปุ่ม + (Add new Server)
https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858609/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E2.png?height=400&width=297

https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858609/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E3.png


4.  คลิกปุ่ม Basic
5.  ในช่อง Server Name ตั้งชื่อตามต้องการ
6.  ในช่อง Connect using คลิกเลือก FTP แล้วกรอก FTP Address, Username และ Password จาก
รายละเอียดบัญชีที่ได้รับ
7.  คลิกปุ่ม Test เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อ
8.  ระบบกำลังเชื่อมต่อกับ Server
9.  คลิกปุ่ม OK เมื่อเชื่อมต่อกับ Server ได้สมบูรณ์
10.  คลิกปุ่ม Save
https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858610/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E4.png?height=335&width=400

https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858610/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E5.png?height=115&width=400

https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858610/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E6.png?height=206&width=400

https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858855/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E7.png?height=330&width=400

11.  จะได้การเชื่อมต่อไปยัง Server ให้คลิกเครื่องหมายถูก ( √) ที่ Remote
12.  คลิกปุ่ม Save

https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858855/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E8.png?height=268&width=400

 

การอัพโหลดเว็บไซต์
         หลังจากที่ได้เชื่อมต่อกับ Server เรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไปคือการอัพโหลดเว็บไซต์
สามารถเลือกอัพโหลดเว็บไซต์ทั้งหมด หรือเลือกอัพโหลดทีละไฟล์หรือทีละโฟลเดอร์
ก็ได้ มีรายละเอียดดังนี้
         การอัพโหลดเว็บไซต์ทั้งหมด มีขั้นตอนดังนี้
1.  คลิกปุ่ม (Expand to show local and remote site) เพื่อขยายมุมมองการทำงานของพาแนล Files
2.  คลิกปุ่ม (Connects to remote host) เพื่อเชื่อมต่อกับ Server ได้สมบูรณ์ 
3.  ระบบกำลังเชื่อมต่อกับ Server

https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858855/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E9.png?height=400&width=272

https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858609/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E10.png?height=229&width=400

https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858609/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E11.png?height=110&width=400

4.  จะแสดงโครงสร้างโฟลเดอร์ของฝั่ง Server เมื่อเชื่อมต่อได้สมบูรณ์
 5.  คลิก Site เมื่อต้องการอัพโหลดทั้งเว็บไซต์
6.  คลิกปุ่ม (Put file(s) to) เพื่ออัพโหลดเว็บไซต์ไปยัง server

https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858609/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E12.png?height=196&width=400

 

https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858609/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E13.png?height=217&width=400

 7.  คลิกปุ่ม OK เพื่อยืนยันการอัพโหลดทั้งเว็บไซต์
8.  ระบบจะทำการอัพโหลดเว็บไซต์
 9.  เมื่อระบบอัพโหลดทั้งเว็บไซต์เสร็จสิ้นแล้ว จะได้โฟลเดอร์และไฟล์ปรากฏในฝั่ง 
Server
https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858609/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E14.png?height=83&width=400

https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858609/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E15.png?height=217&width=400

 

การอัพโหลดทีละไฟล์หรือทีละโฟลเดอร์  มีขั้นตอนดังนี้
1.  คลิกเลือกไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการอัพโหลด
2.  คลิกปุ่ม (Put file(s) to) เพื่ออัพโหลดไฟล์หรือโฟลเดอร์ไปยัง server
3.  ระบบจะทำการอัพโหลดไฟล์หรือโฟลเดอร์
4.  เมื่อระบบอัพโหลดเสร็จสิ้นแล้ว จะได้ไฟล์หรือโฟลเดอร์ปรากฏในฝั่ง Server 
เมื่อเปิดเว็บไซต์ที่ได้จดทะเบียนไว้ด้วยบราวเซอร์ก็จะเห็นเว็บเพจแสดงขึ้นมา

https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858609/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E16.png?height=230&width=400

https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858609/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E17.png?height=126&width=400

https://sites.google.com/site/dreamweavercs6byjatuporn/_/rsrc/1538122858609/kar-xaphhold-websit-khun-rabb-xinthexrnet/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E18.png?height=216&width=400