หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 การติดตั้งโปรแกรมจำลองเว็บเซิร์ฟเวอร์และการสร้างฐานข้อมูล

การดาวน์โหลดโปรอกรมจำลอง Web Server (Xampp)

ขั้นตอนที่ 1
เข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.apachefriends.org/index.html
https://www.bakerymedia.com/wp-content/uploads/2019/04/aid1197391-v4-728px-Install-XAMPP-for-Windows-Step-1-Version-4.jpg
ขั้นตอนที่ 2
ดาวน์โหลดลง Windows ผมก็คลิกที่ XAMPP For Windows
https://www.apachefriends.org/download.html
หาเวอร์ชั่นสำหรับ Windows ให้ตรงกับ Windows ของเรา ตรวจดูด้วยว่าเป็นแบบ 64 bit
หรือ 32 bit

ถ้าเป็น Windows10 เข้าไปดูที่ setting -> About -> Device specifications หัวข้อ System type
ขั้นตอนที่ 3
เมื่อดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้ว เราก็ทำการเปิดไฟล์ ถ้าไฟล์เป็น .exe ให้ดับเบิลคลิก
ได้เลย แต่ถ้าโหลดมาเป็น .zip หรือ .gzip ให้แตกไฟล์ก่อน
ขั้นตอนที่ 4
ทำการติดตั้งตามขั้นตอนโดยกด Next ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีหน้าต่างปรากฏขึ้น
าถามว่าจะเริ่มเปิดใช้งาน XAMPP เลยหรือไม่ เมื่อพร้อมแล้วคลิก Finish ได้เลยครับ
ขั้นตอนที่ 5
https://www.bakerymedia.com/wp-content/uploads/2019/04/2249-1024x665.png
ทำการตั้งค่า XAMPP โดยสั่งเปิด Apache กับ MySQL components. หรือเปิด components
อื่นๆ ที่จะใช้ โดยกดไปที่คำว่า Start หากมีการทำงานถูกต้อง สถานะจะเปลี่ยนเป็น
สีเขียว (ชื่อปุ่มจะเปลี่ยนจาก Start เป็น Stop อย่าสับสน)
ขั้นตอนที่ 6
ตั้งค่า Apache และ MySQL โดยคลิกไปที่ Admin ของ Apache และ MySQL ใน Control Panel
โครงสร้างของไฟล์ใน XAMPP ดังนี้
xampp\apache : จัดเก็บไฟล์ของ Apache
xampp\htdocs : จัดเก็บไฟล์โค้ด php ของเว็บไซต์ เราต้องวางโค้ดเว็บไซต์ภายในโฟลเดอร์
นี้ โดยต้องให้ไฟล์ index.php อยู่ในโฟลเดอร์นี้ และไม่อยู่ในโฟลเดอร์ย่อยอื่นๆ หรือ
พูดง่ายๆ คือ คลิกเข้าไปใน htdocs แล้วต้องเจอ index.php
xampp\mysql : จัดเก็บ mysql รวมทั้งข้อมูลที่เป็น ฐานข้อมูล
xampp\php : จัดเก็บไฟล์สำหรับประมวลผล php เราอาจจะต้องเข้ามาแก้ไขปรับแต่งค่า
PHP ในนี้ เช่นพวก php.ini , extension
xampp\phpMyAdmin : เป็นไฟล์โปรแกรม phpMyAdmin ใช้สำหรับเป็นตัวควบคุมฐานข้อมูล
Database
ขั้นตอนที่ 7
เปิดเบราว์เซอร์แล้วพิมพ์ “localhost” ในแถบ address เพื่อทดสอบว่าการติดตั้ง XAMPP ใน
ระบบเรียบร้อยสมบูรณ์ ถ้าทำงานได้สมบูรณ์จะพบหน้าแสดงรายละเอียดของ XAMPP
ส่วนการเรียกใช้โปรแกรม Xampp นั้น จะต้องเปิดโปรแกรมจากเมนู Start ของ Windows
ทุกครั้ง แต่เราสามารถให้ทำการ Start อัตโนมัติและเปลี่ยน port อื่นๆ ที่ไม่ใช่พอร์ท 80
อันเป็นพอร์ทพื้นฐานได้ การปรับแต่งค่าต่างๆ จะเขียนในบทความต่อไป

 

phpMyAdmin เป็นเครื่องมือสำหรับใช้จัดการฐานข้อมูล MySQL ซึ่งฐานข้อมูลหากเราพูด
ให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ระบบที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้
ข้อมูลของเรามีความพร้อมสามารถนำมาใช้งานได้ทันที  สำหรับความรู้เรื่องฐาน
ข้อมูลนั้น ครูกนนจะได้นำเสนอในความรู้เรื่อง  "ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ
การจัดการฐานข้อมูล"  ซึ่งจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป
      จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการฐานข้อมูล MySQL ที่ต้องใช้
phpMyAdmin ก็เพราะว่าในการจัดการกับฐานข้อมูล MySQL นั้นหากเราไม่มีเครื่องมือ
จัดการแล้วเราต้องใช้วิธีพิมพ์คำสั่ง MySQL เองตั้งแต่การสร้างตารางข้อมูล  การเพิ่ม  
การลบ  การอัพเดท  ข้อมูลต่างๆ  ซึ่งคงเป็นเรื่องยากที่เราจะมานั่งจำคำสั่งต่างๆของ
MySQL 
      phpMyAdmin มีวิธีการใช้งานที่ง่ายๆ และได้ถูกติดตั้งพร้อมกับ Appserv แล้วเราเพียง
แค่คลิกเข้าไปใช้งานก็เท่านั้นเอง ในบทความนี้จะนำเสนอวิธีสร้างฐานข้อมูลด้วย
phpMyAdmin ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ครับ

1. ให้เราเปิด Browser เช่น IE  Chrome  Firefox  ขึ้นมาแล้วพิมพ์ 127.0.0.1 ที่ช่อง URL
    จากนั้นให้เคลิกที่ข้อความ  phpMyAdmin  Database Manager... ตามภาพด้านล่าง
    ที่มีลูกศรชี้อยู่ 
    phpMyAdmin-1

2. ก็จะมีหน้าต่างให้ใส่ ชื่อผู้ใช้ และ รหัสผ่าน ปรากฏขึ้นมา
    ในช่อง ชื่อผู้ใช้ ให้ใส่คำว่า root
    ในช่อง รหัสผ่าน ให้ใส่รหัสผ่านที่เราสร้างไว้เมื่อตอนติดตั้ง Appserv 
    phpMyAdmin-3

4. ถ้าใส่ ชื่อผู้ใช้ หรือ รหัสผ่าน ไม่ถูกต้องก็จะปรากฏหน้าต่างคล้ายภาพด้านล่าง
    phpMyAdmin-4

5. หากภาพในข้อ 4 ปรากฏขึ้นมาก็ไม่ต้องตกใจครับให้คลิกปุ่ม back เพื่อย้อนกลับไป
เริ่มต้นทำข้อ 1 ใหม่ได้อีกครั้ง
    phpMyAdmin-5

6. หากเข้าสู่ระบบได้ก็จะมีหน้าต่างคล้ายภาพด้านล่างปรากฏขึ้นมาครับ
    phpMyAdmin-6

7. ให้เรารู้จักปุ่ม
    หมายเลข 1 คือ ปุ่ม Home มีไว้สำหรับคลิกกลับมาที่หน้าแรกของ phpMyAdmin
    หมายเลข 2 คือ ปุ่ม Exit มีไว้สำหรับคลิกออกจาก phpMyAdmin
    phpMyAdmin-7

8. ในช่องฐานข้อมูลหากเราคลิกเข้าไปดูก็จะเห็นฐานข้อมูลที่ phpMyAdmin สร้างไว้ให้
บ้างแล้ว
    สำหรับท่านที่ติดตั้ง Appserv ครั้งแรก อาจจะมีชื่อฐานข้อมูลไม่เหมือนตัวอย่าง
ก็ไม่ต้องกังวลครับ
    เพราะภาพตัวอย่าง ผมได้สร้างฐานข้อมูลไว้บ้างแล้ว
    phpMyAdmin-8

9. ให้ท่านดูที่ด้านขวาของ phpMyAdmin ท่านจะเห็นคล้ายภาพตัวอย่างมีสิ่งที่เราต้อง
ทำความรู้จัก
    สำหรับการสร้างฐานข้อมูลใหม่ดังนี้ครับ
    หมายเลข 1 คือ ช่องสำหรับใส่ชื่อฐานข้อมูลที่เราจะสร้าง ในที่นี้ผมจะสร้างฐาน
ข้อมูลชื่อ myDataBase
                              ผมก็พิมพ์ชื่อฐานข้อมูลลงไปในช่องที่ 1
    หมายเลข 2 คือ ช่องสำหรับเปลี่ยนรหัสอักขระ ให้คลิกเลือกเป็น utf8_unicode_ci ครับ
    หมายเลข 3 คือ ปุ่ม สร้าง เมื่อเราทำข้อ 1,2 เสร็จแล้วก็คลิกปุ่ม สร้าง
    phpMyAdmin-9

10. เราก็จะเห็นชื่อฐานข้อมูลที่สร้างปรากฏด้านซ้ายมือครับ
       myDataBase(0)  หมายความว่า  ฐานข้อมูลชื่อ myDataBase มีตารางข้อมูลอยู่ 0 ตาราง
      phpMyAdmin-10

11. นี่เลยครับสุดยอดของ phpMyAdmin ที่ผมชอบล่ะครับ ให้ทุกท่านดูตรงบรรทัด คำค้น SQL
      ท่านจะเห็นว่าด้านล่างมีคำสั่ง MySQL สำหรับใช้สร้างฐานข้อมูลครับ ที่ชอบก็เพราะว่า
      เราสามารถมาเรียนรู้คำสั่ง MySQL แบบที่เรียกว่า Command Line ได้จาก phpMyAdmin ครับ
      นั่นคือเราทำอะไรก็ให้เราจำคำสั่ง MySQL ที่เราทำลงไปให้ดีๆ แล้วสามารถนำไปใช้ใน
การ
      เขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่มีการติดต่อกับฐานข้อมูล MySQL ได้
อย่างสบายๆเลยล่ะครับ
      phpMyAdmin-11
     นี่ก็เป็นขั้นตอนง่ายๆในการใช้ phpMyAdmin สร้างฐานข้อมูล ในบทความต่อไปจะนำเสนอ
วิธีใช้ phpMyAdmin จัดการกับฐานข้อมูลในรูปแบบอื่นๆเช่น การสร้างตารางข้อมูล  การ
กำหนดโครงสร้างตารางข้อมูล  การเพิ่มข้อมูล  การลบข้อมูล  การอัพเดทข้อมูล เป็นต้น